การขนส่งทางน้ำในเมียนมา
การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเมีย นมาเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากน้ำแม่น้ำอิระวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชากรพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด เมียนมาร์มีแม่น้ำสายสำคัญ 4 สาย ดังนี้
1.แม่น้ำเอยาวดี (Ayeyarwaddy) เดิมชื่ออิระวดี เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงสุดของประเทศ มีความยาว 2,170 กิโลเมตร
2.แม่น้ำตาลวิน (Thanlyin) เดิมเรียกสาละวิน มีความยาว 1,270 กิโลเมตร โดยไหลมาจากทิเบตผ่านมณฑลยูนานและประเทศไทยมาออกทะเลอันดามันที่มณฑลเมาะลำใย
3.แม่น้ำซิทตวง (Sittaung) ไทยเรียกว่าแม่น้ำสะโตง มีความยาว 400 กิโลเมตร อยู่ทางภาคกลางฝั่งตะวันออกของประเทศ ไหลมาทางทิศใต้จากที่ราบสูงฉานมาออกทะเลอันดามันที่อ่าวมาตาบัน (Martaban) แม่น้ำซิทตวงเป็นเส้นทางขนส่งไม้ซุง โดยเฉพาะไม้สักเพื่อการส่งออก
4.แม่น้ำชินวิน (Chindwin) มีความยาว 960 กิโลเมตรไหลจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ของประเทศมาบรรจบกับแม้น้ำเอยาวดีที่มัณฑะเลย์
นอกจากนี้ เมียนมายังมีความยาวชายฝั่งทะเล 2,832 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญอยู่ที่ย่างกุ้ง ซิทต่าย (Sittway) เจ้าฟิว (Kyau Kphyu) ตานต่วย (Thandwe) ในรัฐยะไข่ ท่าเรือปะเตง (Pathein) ในมณฑลเอยาวดี ท่าเรือเมาะลำใย (Mawlamyaing/มะละแหม่ง) ในรัฐมอญ ท่าเรือทแว (Dawai/ทวาย) ท่าเรือเมก (Myeik) ท่าเรือก้อตาว (Kaw-Thang/เกาะสอง) ในมณฑลตะนาวศรี
โดย สำนักงาน ก.พ.วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558