ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศาลากลางจังหวัด

ผู้เขียน:  นพพร แสงสร้อย
ปรับปรุงเนื้อหาสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:24 น.

 อ่าน 0
 

ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

             
 
ศาลากลางจังหวัดเดิมตั้งอยู่ที่  ตำบลประตูชัย  อำเภอกรุงเก่า (อำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) สร้างเป็นตึก ๓ ชั้น รูปร่างคล้ายตัวที ซึ่งได้ทำการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สมัยหลวงบริหารชนบท (ส่าน) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด โดยการสนับสนุนจากนายปรีดี  พนมยงค์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังในสมัยนั้นซึ่งเป็นชาวอยุธยาที่ตัวตึกด้านหน้าศาลากลางจังหวัด ได้ก่อสร้างพระบรมรูปวีรกษัตริย์วีรสตรี ซึ่งได้ประกอบคุณาประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่กรุงศรีอยุธยาและชาติไทยในครั้งอดีตรวม ๖ พระองค์ คือ

ศาลากลางหลังเก่า

๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)พระหัตถ์ซ้ายถือปราสาทสังข์ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๓
๒.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระหัตถ์ทั้งสองถือประมวลกฎหมายผู้ทรงพระปรีชาสามารถในทางปกครอง
๓. สมเด็จพระศรีสุริโยทัย วีรสตรีซึ่งได้เสด็จออกไปสู้รบกับข้าศึก เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๓และได้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี
๔. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๐๓๓ - พ.ศ. ๒๑๔๘) พระหัตถ์ขวาถือพระแสงของ้าวพระหัตถ์ซ้ายถือพระมาลา ผู้ทรงกอบกู้พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเสียแก่พม่าครั้งแรกและได้สู้รบกับข้าศึกถึง ๗ ครั้ง
๕. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑) พระหัตถ์ทั้งสองถือพระราชสาสน์ได้ทรงทำสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และทรงนำเอาวัฒนธรรมทางตะวันตกมาเผยแพร่ไว้มากครั้งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในรัชสมัยของพระองค์ การค้าขายเจริญรุ่งเรืองมาก
 
 ๖. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๓๓๕) พระหัตถ์ทั้งสองถือดาบ ได้ทรงกอบกู้ความเป็นเอกราชไว้ได้ในคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงธนบุรี

----- อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเดิมได้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและบริการประชาชนมาจนมีสภาพชำรุดทรุดโทรมยากแก่การซ่อมบำรุง และไม่สามารถรองรับส่วนราชการประจำจังหวัดได้เพียงพอ ประกอบกับที่ตั้งอยู่ในเขตโครงการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกโลก และกรมศิลปากรมีแผนงานที่จะบูรณะซ่อมแซมอาคารศาลากลางและสถานที่ต่างๆโดยรอบให้เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวจังหวัด จึงมีโครงการย้ายศาลากลางออกไปอยู่นอกพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์

----- ต่อมานายจตุรงค์  ด่านชัยวิโรจน์  นางขวัญลักษณ์  ด่านชัยวิโรจน์  นายวรพจน์  ด่านชัยวิจิตร และนางสมพิศ  ด่านชัยวิจิตร  ได้อุทิศที่ดินริมถนนสายเอเซีย หมู่ที่ ๓  ตำบลคลองสวนพลู  อำเภอพระนครศรีอยุธยา ให้กับทางราชการจำนวน ๗๐ ไร่ ๑ ตารางวา ราคาทุนทรัพย์ ๗๐,๐๐๔,๙๕๑.๖๐ บาท โดยอุทิศให้

  ๑. ก่อสร้างศูนย์ราชการ จำนวน ๕๓ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตารางวา
  ๒. ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อสร้างถนนสาธารณะ จำนวน ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๒๕ ตารางวา 

---- มีพิธีมอบโฉนดที่ดินวันพุธที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓  ณ  กระทรวงมหาดไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบรรหาร  ศิลปอาชา) เป็นประธานในพิธีรับมอบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้เสนอโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัดต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการจัดวาง ผังแม่บทศูนย์ราชการส่วนภูมิภาคของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะกรรมการได้อนุมัติโครงการก่อสร้างโดยแบ่งการดำเนินการออก ๓ ระยะ คือ


ศาลากลางก่อนการปรับปรุง
ระยะที่ ๑  (ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘)  ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และระบบสาธารณูปโภค
ระยะที่ ๒  (ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๓๘) ก่อสร้างศาลาประชาคม
ระยะที่ ๓  (ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๘ - ๒๕๓๙) ก่อสร้างอาคารสูง ๑๐ ชั้น จำนวน ๒ หลัง เพื่อรองรับส่วนราชการทุกส่วน

------- พ.ศ. ๒๕๓๕  กระทรวงมหาดไทยจัดสรรงบประมาณเป็นค่าถมดิน จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท บริเวณที่จะก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ๑๐ ไร่ พ.ศ. ๒๕๓๖  ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน ๕,๙๐๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าก่อสร้างศาลากลางจังหวัดพร้อมระบบสาธารณูปโภค โดยผูกพันงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๗ จำนวน ๕๒,๑๐๐,๐๐๐ บาท และปี พ.ศ.๒๕๓๘ จำนวน ๖๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท และกระทรวงมหาดไทยให้จังหวัดดำเนินการประกวดราคาได้ บริษัท แซมคอน จำกัด เป็นผู้รับเหมาในวงเงิน ๑๑๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จใน ๖๗๕ วัน ลงนามในสัญญาจ้าง วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗ กำหนดแล้วเสร็จในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๙ เป็นอาคารทรงไทยสู. ๔ ชั้น พื้นที่ใช้สอย ๙,๑๙๖ ตารางเมตร

------ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์วันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๗ เวลา ๑๓.๐๑ น. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ) เป็นประธาน  ณ  บริเวณที่ก่อสร้างศาลากลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดพิธีบวงสรวงลาศาลากลางหลังเก่า วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๙ เวลา ๐๘.๐๐ น. และเวลา ๑๐.๐๐น.ได้จัดพิธีสงฆ์และบวงสรวง ศาลากลางใหม่ เริ่มปฏิบัติงาน ณ ศาลากลางใหม่ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๙ เป็นต้นมา


ศาลากลางปัจจุบัน(หลังการปรับปรุง)

------- นายวิทยา ผิวผ่อง ได้ย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ท่านเห็นว่าศูนย์ราชการหลังใหม่ มีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม จึงมีดำริให้ปรับปรุงซ่อมแซมศูนย์ราชการจังหวัดขึ้นใหม่โดยใช้งบประมาณของ ทางราชการและจัดหางบประมาณเพิ่มเติมจากการจำหน่ายวัตถุมงคลพระพุทธไตรรัตน นายก (หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิงวรวิหาร ซึ่งงบประมาณทั้งหมดรวมเป็นเงิน ๑๓,๖๖๖,๗๕๘.๗๗ บาท โดยดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามรายละเอียดของงานดังต่อไปนี้


 

ศาลากลางปัจจุบัน(หลังการปรับปรุง)
ระยะที่ ๑ ใช้งบประมาณจากราชการปี ๒๕๕๒ รวมเป็นเงิน ๗,๓๔๒,๕๐๐ บาท

    - ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สร้างลานคอนกรีต) งบประมาณ ๖,๑๔๒,๕๐๐ บาท โดยใช้งบจากยุทธศาสตร์จังหวัด

    - ปรับปรุงศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งบ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยใช้งบเงินเหลือจ่าย

 ระยะที่ ๒ ใช้งบประมาณจากการจำหน่ายวัตถุมงคล รวมเป็นเงิน ๓,๑๖๑,๐๒๘.๗๗ บาท

 

    -  สร้างศาลพระภูมิตา-ยาย งบ ๑๕๐,๐๐๐ บาท

    - สร้างตู้นิรภัยเก็บพระแสงราชศัสตราและพระพุทธนวราชบพิตร พร้อมระบบป้องกันภัยห้องพระยาโบราณ งบ ๕๓๒,๔๐๔ บาท

    - สร้างระบบจ่ายน้ำรดน้ำต้นไม้ งบ ๒๐๐,๐๐๐ บาท

    - ก่อสร้างหอพระและฐานศาลพระภูมิ งบ ๑,๑๙๐,๐๐๐ บาท

    - ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง งบ ๖๕๕,๖๗๔.๗๗ บาท

    - ปรับภูมิทัศน์ (สวนหย่อม) งบ ๒๑๓,๑๕๐บาท

    - ค่าซ่อมแซมพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ งบ ๑๒๐,๐๐๐ บาท

    - ค่าก่อสร้างสระน้ำหลังศาลพระภูมิ ๙๙,๘๐๐ บาท


วัตถุมงคล

 

วัตถุมงคล
 
ระยะที่ ๓ ใช้งบประมาณจากราชการปี ๒๕๕๓ รวมเป็นเงิน ๓,๑๖๓,๒๓๐ บาท

ศาลากลางปัจจุบัน(หลังการปรับปรุง)

 

    -ทาสีศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งบ ๑,๘๕๐,๐๐๐บาทโดยใช้งบจากกระทรวงมหาดไทย

    - ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งบ ๘๕๙,๒๓๐ บาท โดยใช้งบจากกองทุนโรงไฟฟ้าวังน้อย

    - ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้งบจากกองทุนโรงไฟฟ้าวังน้อย (ป้อม อ.ส.) งบ ๔๕๔,๐๐๐ บาท โดยใช้งบจากกองทุนโรงไฟฟ้าวังน้อย

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ปรับปรุงเพิ่มเติม

๑. ปรับปรุงที่จอดรถบริเวณโดยรอบศาลากลางจังห

วัด

 

 

๒. ทาสีอาคารภายในศาลากลางทั้งหมด

 


ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ 

 

 

๑.      ทาสีป้ายโฆษณา AYUTTHAYA WORLD EXPO 2020 พื้นสนสมหน้าศาลากลางจังหวัด

 

๒.      ติดตั้งป้ายไฟ LED ๒ จุด งบพัฒนาจังหวัด และงบองค์การบริหารส่วนจังหวัด

 

 

 

 

 

 

 

 



 

 

 

 

 

 




 

 

 

 
comments powered by Disqus