สิ่งที่ประชาชนควรรู้ |
|
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีขึ้นเพื่อรองรับ " สิทธิได้รู้" (rights to know) ของประชาชนซึ่งเป็นแกนสำคัญของสังคมประชาธิปไตย โดยอาจพิจารณาได้จากบทบาท 2 ด้านดังนี้ |
|
ในทางการเมือง |
|
ระบบประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองของประชาชนโดยประชาชนและ เพื่อประชาชนซึ่งปรัญญานี้ จะสัมฤทธิผลเพียงใดขึ้นอยู่กับการให้บทบาท ที่กว้างขวางแก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมในการปกครอง (participatory democracy) พื้นฐานเบื้องต้นที่ประชาชนจะใช้บทบาทของต้นให้ถูกต้องได้ นั้นคือประชาชน ต้องมีความรู้ในความเป็นไปของการปกครอง ว่าในขณะนี้ การปกครองได้ดำเนินการในเรื่องใดไว้อย่างไร เพื่อประชาชน จะได้ติดตามตรวจสอบ และใช้สิทธิใช้เสียงในการปกครองได้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์ การออกความเห็นในการจัดประชาพิจารณ์ การประท้วงแสดงพลังความต้องการ ตลอดจนการใช้สิทธิเลือกตั้ง |
|
ในการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ |
|
องค์กรของรัฐและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ถูกสร้างเพื่อทำการแทนรัฐและประชาชนทั่วไป พื่อให้การปกครองเป็นไปโดยเรียบร้อย และถูกต้องตามกฎหมาย องค์ของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ หลากหลายในการสัมพันธ์กับเอกชน โดยมีการออก "กฎระเบียบ"ต่างๆ ขึ้นใช้ในการปกครอง และจะมีการออก " คำสั่งทางปกครอง" เมื่อต้องการบังคับการให้เกิดผลในกฎหมาย ดังนั้นกฎ ระเบียบและคำสั่งทางปกครองต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปควรได้รู้เพื่อที่จะพิเคราะห์ได้ว่ากรณีของตนผลจะเป็นเช่นใด แตกต่างจากผู้อื่นอย่างไร และโต้แย้งได้อย่างไรและเพียงใดอันการคุ้มครองสิทธิเฉพาะตัว ประชาชนแต่ละคน |
|
สิทธิของประชาชนหรือเอกชน พ.ร.บ. นี้ได้กำหนดสิทธิของประชาชนหรือเอกชนดังนี้ |
|
สิทธิในการขอคำปรึกษาการปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะ เป็นหน่วยงานทาง วิชาการและธุรการให้แก่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ของราชการและคณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 6) |
|
สิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร ของราชการ ตามาตรา 9 ได้ คนต่างด้าวจะมีสิทธิ ตามมาตรานี้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (มาตรา 9) " คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มี ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคคลดังต่อไปนี้ ( 1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่ง เป็นของคนต่างด้าว ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าว เป็นผู้ถือ ( 2) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว (3) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ของคนต่างด้าว ( 4) นิติบุคคลตาม (1) (2)(3) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการ เกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว นิติบุคคลตามวรรค 1 ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่นให้ถือว่า ผู้จัดการหรือกรรมการหรือสมาชิกหรือเจ้าของทุน ดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว (มาตรา 4) |
|
สิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว หรือที่จัดไว้ให้ ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า ตามมาตรา 26 แล้ว โดยคำขอนั้นได้ระบุข้อมูลข่าวสารที่ ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควร (มาตรา 11) |
|
สิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับงาน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องให้กับบุคคลนั้นหรือผู้กระทำแทน ได้ตรวจดู หรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น (มาตรา 25 วรรค1) |
|
สิทธิในการดำเนินการแทนผู้เยาว์คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูล ที่ถึงแก่กรรม ตามมาตรา 23 เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หรือการแจ้งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ไปยังที่ใดของบุคคลดังกล่าว มาตรา 24 เกี่ยวกับการให้ความยินยอมให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแล ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของคนเปิดเผยข้อมูลต่อ หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น และมาตรา 25 เกี่ยวกับการได้รู้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน การขอให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง รวมที้งมีสิทธิอุทธรณ์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่ง ไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนี้ (มาตรา 25 วรรค 5) |
|
สิทธิในการร้องเรียนผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐ ไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 7 หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา 11 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้หรือปฎิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดย ไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นี้นมีสิทธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนเปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 ( มาตรา 13) |
|
สิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสีย ตามมาตรา 17 ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ (มาตรา 18) แต่ถ้าอุทธรณ์คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรวจตามที่มีคำขอ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ไม่ว่ากรณีใดๆให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐ หมายเหตุคำขอของคนแนบไว้กับข้อมูลข่าวสาร ส่วนที่เกี่ยวข้อง |
สิทธิอื่นๆที่ประชาชนควรรู้ |
|
ขั้นตอนการให้บริการข้อมูล |
|
คู่มือประชาชน สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร |
|
คู่มือสิทธิประชาชน ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง |
|
แนะนำการใช้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
|
ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารได้ทุกเรื่อง |
|
ตัวอย่างคำขอข้อมูลข่าวสาร |
|
คู่มือสิทธิประชาชน ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง |
แผ่นพับประชาสัมพันธ์ |
|
|
|
|
|
|