หมอใหญ่กรุงเก่า : “แนะประชาชนกรุงเก่า สงกรานต์ร่วมขับขี่ปลอดภัย เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หมอใหญ่กรุงเก่า : “แนะประชาชนกรุงเก่า สงกรานต์ร่วมขับขี่ปลอดภัย

ผู้เขียน:  พัชรี วงษ์บัวทอง จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 11:37 น.

 อ่าน 3,431

นพ.พิทยา ไพบูลย์ศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า วันสงกรานต์เป็นเทศกาล
สืบสานประเพณีไทย เทศกาลแห่งความสุข ความรื่นเริง และเป็นช่วงเวลาที่ได้เดินทางไปพบปะสังสรรค์กันระหว่าง
คนในครอบครัว ญาติ หรือเพื่อน ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน อย่างไรก็ตามในการเฉลิมฉลองของเทศกาลแห่งความสุขยังคงมีความเชื่อที่ผิดๆ ที่ต้องสังสรรค์กันด้วยสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ
ในระหว่างการเดินทาง ส่งผลให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก มีสาเหตุ
มาจากการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่มากที่สุด                                                                    จากสถิติอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีพ.ศ.2558 ในช่วง 7 วันอันตราย (9-15 เม.ย. 2558)
ของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเกิดอุบัติเหตุรวม 3,373 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 364 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,559 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 39.31 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.35 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.34 โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 28.51จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 141 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ สุรินทร์ 16 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สุรินทร์ 152 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต(ตายเป็นศูนย์) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บในช่วง 7 วันของการรณรงค์
มี 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ

กล่องข้อความ: งานประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร ๐ – ๓๕๒๔ - ๑๕๒๐ ต่อ ๑๑๐นพ.พิทยา กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น และ“ร่วมสร้าง วัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ร่วมขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ประชาชนควรร่วมรณรงค์ปฏิบัติตามหลัก ตามแนวทาง ๓ ม. ๒ ข. ๑ ร. ๑ ย. และ ๑ ท. ดังนี้                                                                                                                     ม.๑ เมาไม่ขับ สุรามีฤทธิ์ต่อการทำงานของระบบประสาททำให้การทำงานของร่างกายช้าลง จึงทำให้
ความสามารถในการขับขี่ลดลงก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น                                                               
          ม. ๒ สวมหมวกนิรภัย
การที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานและถูกวิธีจะช่วย
ลดการบาดเจ็บที่ศีรษะได้มากกว่าผู้ที่ไม่สวมถึง 5 เท่า                                                                               ม.๓ มอเตอร์ไซด์ปลอดภัย การนำรถที่มีสภาพมั่นคงแข็งแรงและมีอุปกรณ์ต่าง ๆ สมบูรณ์ครบถ้วน
มาใช้ในการเดินทางจะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้                                                                           ข.๑ ใบขับขี่  ต้องมีใบอนุญาตขับขี่เพื่อที่จะได้มีความรู้ในการขับขี่ที่ถูกต้องมีความปลอดภัยทั้งต่อตนเอง
และผู้อื่น                                                                                                                                       ข.๒ คาดเข็มขัดนิรภัย การคาดเข็มขัดนิรภัยช่วยลดความรุนแรง จากการบาดเจ็บในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้            ร.๑ ขับรถเร็ว การขับขี่รถด้วยความเร็วสูงทำให้ความสามารถในการทรงตัวของรถน้อยลง ระยะเวลา
ในการตัดสินใจจะน้อยลงและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับความเร็วของรถ                                                นอกจากมาตรการ “๓ ม. ๒ ข. ๑ ร.แล้วผู้ขับขี่รถทุกชนิดควรตระหนักถึงอีกคือ ๑ย .การขับรถย้อนศรโดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถจักรยานที่ไม่ติดสัญญาณไฟทั้งหน้าและหลัง ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะขับรถย้อนศรยังไม่รวมไปถึงการแซงในที่คับขัน การขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง และ ๑ ท. ไม่ใช้โทรศัพท์
ขณะขับรถ
หากพบเห็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน สามารถให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุด้วยการแจ้งไปที่
สายด่วน 1669 ที่ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
ที่เหมาะสม โดยบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ครบครัน พร้อมออกให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย (ผู้ป่วยฉุกเฉินได้แก่ หมดสติ, หยุดหายใจ, หัวใจหยุดเต้น, เจ็บหน้าอกรุนแรง,เจ็บครรภ์ใกล้คลอด, กินยาเกินขนาด, กินสารพิษ, ชักเกร็ง ชักกระตุก, ตกเลือด, ไข้สูง) ทั้งนี้เตรียมตอบคำถาม เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินดังต่อไปนี้ 1.สถานที่เกิดเหตุ 2.เกิดอะไรขึ้น 3.อาการของผู้บาดเจ็บ 4.อายุ เพศ และจำนวนของผู้บาดเจ็บ
5.มีอาการรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง หลับแล้วปลุกตื่น หรือหมดสติ หายใจปกติหรือไม่ 6.หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
     


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทประชาสัมพันธ์
ข่าวโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด