Welcome To Ayutthaya
หน้าหลัก
::
หน้าเว็บจังหวัด
::
ติดต่อสอบถาม
วัด
พระที่นั่ง
พระราชวังหลวง
พิพิธภัณฑ์
โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
ศูนย์ศิลปาชีพ/ศูนย์ศึกษาฯ
สวนสาธารณะ
หมู่บ้านนานาชาติ
พระราชานุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน
ตลาดบก / ตลาดน้ำ
ร้านของฝากของที่ระลึก
อื่นๆ
แผนที่ท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี
สกู๊ปวีดีโอท่องเที่ยว/กิจกรรม
เทศกาลประเพณี
สถานที่พัก
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำอำเภอ
การเดินทาง
โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
เกาะบางปะอินอยู่ห่างจากเกาะเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกไป 40 กิโลเมตร คือ จากตัวจังหวัดไปตามถนน พหลโยธินเลี้ยวขวาเข้าทางแยกตรง กม. ที่ 35 เลี้ยวเข้าไป 7 กิโลเมตร ก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก-นิสิต- นักศึกษา-ภิกษุ-สามเณร 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท โทร. 0-3526-1044, 0-3526-1549
แผนที่
ภายในพระราชวังบางปะอินมีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างใน รัชกาลที่ 5 เดิมสร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้เปลี่ยนเสา และพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด
พระที่นั่งวโรภาษพิมานเป็นท้องพระโรงอยู่ทางเหนือของ "สะพาน เสด็จ"ซึ่งเป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นลง เดิมเป็นเรือน ไม้สองชั้นเป็นที่ตั้งที่ประทับและท้องพระโรงร่วมกัน ต่อมารัชกาลที่ 5 โปรดให้รื้อสร้างใหม่เป็นอาคารแบบฝรั่ง ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนางในงานพระราชพิธี สิ่งสำคัญในพระที่นั่งเป็นภาพชุดพระราชพงศาวดาร กับภาพเรื่องอิเหนา พระอภัยมณี และรามเกียรติ์
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรอยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นพระที่นั่งสร้างด้วยไม้น่าเสียดายที่ไฟไหม้หมด ไม่มีสิ่งใดเหลือนอกจากหอสูงก่ออิฐปูนรูปหกเหลี่ยมซึ่งเรียกว่า หอพระ เท่านั้น
พระที่นั่งเวหาสน์จำรูญอยู่ตอนเหนือของพระราชวังพระที่นั่งองค์ นี้พระยาโชฏึก ราชเศรษฐี (ฟัก) สร้างถวายตามแบบพระราชวังจีนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มักเสด็จประทับในฤดูหนาว
พระที่นั่งวิฑูรทัศนาเป็นหอสูง สร้างบนเกาะน้อยอยู่ระหว่างพระที่ นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระที่นั่งเวหาสน์จำรูญเป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น มีบันไดเวียนทรงใช้เป็นที่ทอดพระเนตรสภาพบ้านเมืองโดยรอบ
โรงละครรัชกาลที่ 6 เดิมที คือ ตำหนักวรนาฏเกษมสานต์ เป็นตำหนักที่ประทับของพระบรมวงศ์ฝ่ายในหลายพระองค์ ประทับอยู่ด้วยกัน โดยในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน นั้น แม่พลอยซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องก็ได้มาพักที่ตำหนักนี้ ในรัชกาลที่ 6 ตำหนักแห่งนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นโรงละครประจำพระราชวัง
โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "วรนาฏยศาลา" เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 6 จึงรื้อโรงละครออกไป ปัจจุบันเป็นสนามกว้างปลูกต้นไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ( อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม)เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อน บรรจุพระสรีรังคาร ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา
อนุสาวรีย์พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์และ เจ้าฟ้าสามพระองค์ อยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์พระ นางเรือล่ม
สภาคารราชประยูรเป็นตึก 2 ชั้นอยู่ริมแม่น้ำนอกกำแพงพระราชวัง ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งวโรภาสพิมานด้านทิศใต้ รัชกาลที่ 5 โปรดให้ สร้างเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้า
เหมมณเฑียรเทวราชเป็นศาลประดิษฐานเทวรูปรัชกาลที่ ๕โปรดให้สร้างขึ้นตรงศาลเดิมที่ชาวบ้านสร้าง อุทิศถวายสมเด็จ-พระเจ้าปราสาททอง
ตำหนักเก้าห้อง เป็นตำหนักที่ประทับของพระบรมวงศ์ฝ่ายใน ที่ตามเสด็จฯ คราวแปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยมีสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ก่ออิฐถือปูน มี 2 ชั้น มี 3 มุข ได้แก่ มุขข้าง 2 ด้าน และมุขกลาง (คล้ายรูปตัว E) ผนังระหว่างเสาชั้นล่างเป็นวงโค้ง และชั้นบนเป็นช่องสี่เหลี่ยมมีการประดับด้วยไม้ฉลุลาดขนมปังขิง มีทางขึ้นตำหนัก 5 ทาง ด้านหน้าตำหนัก 3 ทาง และระเบียงหลัง 2 ทาง
ตำหนักเก้าห้อง ตั้งอยู่ระหว่างตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมีและพระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ปัจจุบัน ใช้เป็นที่พักของนายทหารของศูนย์รักษาความปลอดภัยตั้งแต่ยศพันตรีขึ้นไป
วัดชุมพลนิกายารามอยู่บริเวณหัวเกาะตรงสะพาน ข้ามไปสถานีรถไฟ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2175
แผนที่
วัดพระนิเวศน์ธรรมประวัติอยู่นอกเกาะทางด้านทิศใต้คนละฝั่งกับ พระราชวัง รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างให้มีรูปทรงต่างจากจังหวัดอื่นๆ เป็นศิลปะแบบกอทธิก สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2421 โปรดให้เป็นพระอาราม สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายนิกายธรรมยุติ
แผนที่
พัฒนาข้อมูลโดย:กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร/โทรสาร. 0-3533-5665 ต่อ 26