ศาลหลักเมือง |
|
|
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับกล่าวความต้องกันว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 1893 ชีพ่อพราหมณ์
ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักษิณาวัฎใต้ต้นหมัน ใบหนึ่ง
สันนิษฐานว่าได้มีการสถาปนาหลักเมืองขึ้นในคราวเดียวกัน
แต่ได้ปรักพังสูญไป ในคราวพุทธศักราช 2310
และมิได้สถาปนาใหม่ในสมัยกรุงธนบุรี ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้น
จากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และหลักฐาน
จากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬ
และสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภช
กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณ
ีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา |
คุ้มขุนแผน |
|
|
ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล
มณฑลกรุงเก่า พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์
ทรงสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2437 ที่เกาะลอยบริเวณสะพานเกลือ
ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล ต่อมาในราวปีพ.ศ. 2483
ปรีดีพนมยงค์นายรัฐบุรุษอาวุโส ได้ย้ายจวนหลังนี้มา
สร้างในบริเวณคุกนครบาลเก่า ของพระนครศรีอยุธยา
พร้อมทั้งสร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ.2499
และให้ชื่อเรือนไทยนี้ว่า คุ้มขุนแผน ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้
แผนที่ |
ท้องฟ้าจำลอง |
|
|
ท้องฟ้าจำลองแห่งนี้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ได้ ส่วนหนึ่งคงเป็นผล สืบเนื่องจาก โครงการพัฒนาการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ
ทั้ง 36 แห่ง โครงการนี้กำหนดไว้
ระหว่างปีงบประมาณ 2536-2544 โดยจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีขึ้นในสถาบันราชภัฏ มุ่งหวังที่จะพัฒนาการ
เรียนการสอน ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัย
ของนักศึกษาอาจารย์ของสถาบัน พร้อม ๆ
กับการพัฒนาปรับปรุงและเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร
์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นอยู่บริเวณด้านหลังอาคาร
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
มีการฉายดาวเรื่องระบบสุริยะ กลุ่มดาว นิทานดาว
การดูดาวเบื้องต้น และปรากฏการณ์ทางธรรมชาต
ินับได้ว่าเป็นท้องฟ้าจำลองแห่งที่ 2 ของประเทศไทย
รองจากท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ฯ จัดฉายวันละ 2 รอบ
เวลา 11.00 และ 14.00 น
เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 035-322076-9 ต่อ 5011 |
ป้อมเพชร |
|
|
ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดสุวรรณดาราราม เป็นป้อมปราการป้อมเดียว
ที่ยังเหลืออยู่จากเดิมที่มีอยู่ 29 ป้อม รูปทรงป้อมแบบหกเหลี่ยม ผนังก่อด้วยอิฐสลับด้วยศิลาแลง? มีช่องเชิงเทินก่อเป็นรูปโค้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ประจำป้อม สร้างในสมัย
พระมหาจักรพรรดิ์ (กษัตริย์องค์ที่15) เพื่อป้องกันข้าศึก
ที่จะมาทางน้ำ เป็นที่บรรจบระหว่างแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นท่าเรือสินค้าที่สำคัญในอดีต รวมทั้งเป็นย่านที่พักอาศัย ของพ่อค้าชาวจีน ฮอลันดาและฝรั่งเศส
ป้อมเพชรตั้งอยู่ที่ ถนนอู่ทอง ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใกล้วัดพนัญเชิง |
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา |
|
|
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 115 หมู่ที่6ถนนโรจนะ ตำบลไผ่ลิง
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538
ทำพิธีเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2542 ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน
นักศึกษา ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และประชาชนในพื้นที่
มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม |
ป้อมประตูข้าวเปลือก |
|
|
เป็นป้อมปืนโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งอยู่หน้าวัดราชประดิษฐานเป็นป้อมที่ก่อด้วยอิฐ
สร้างเป็นเชิงเทินขนาบปากคลองประตูข้าวเปลือก
ซึ่งเป็นคลองที่บรรจบกับแม่น้ำลพบุรีเดิม
ตอนบนของป้อมก่อเป็นรูปใบเสมา
ด้านล่างมีช่องกุดก่อเป็นโค้ง ความสำคัญของป้อมประตูข้าวเปลือก
ในทางประวัติศาสตร์นั้น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวไว้ว่า
ครั้งเมื่อใกล้สิ้นรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (กษัตริย์องค์ที่ 30)
เมื่อปี พ.ศ. 2275 พระองค์ได้มอบพระราชสมบัติให้แก่พระโอรส
คือ เจ้าฟ้าอภัย แต่ถูกทัดทาน
โดยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระเจ้าบรมโกศ พระอนุชา)
ต้องการให้เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เสวยราชแทนครั้นเจ้าฟ้าอภัย
ขึ้นเสวยราชสมบัติ พระเจ้าท้ายสระได้สั่งให้ขุนศรีคงยศ
ตั้งค่ายที่คลองประตูข้าวเปลือกแห่งนี้ หลังพระเจ้าท้ายสระสวรรคตลง
จึงได้เกิดศึกขึ้นระหว่างวังหลวงและวังหน้าโดยมีป้อมประตูข้าวเปลือก
นี้เป็นแนวรบป้อมประตูข้าวเปลือก ตั้งอยู่ที่ ถนนอู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี
ีอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ต้นไม้อายุยืน |
|
|
|