วิหารพระมงคลบพิตร |
|
|
พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งวิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิพระมงคลบพิตร โทร.0-3524-1689
วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ ถ.คลองท่อ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดไชยวัฒนาราม |
|
|
อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมือง พระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ.ศ.2173 เพื่ออุทิศวายให้เป็นอนุสรณ์สถาน ณ บ้านเดิมของพระราชมารดา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยทรงมี พระราชนิยมศิลปะแบบขอมปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ใหญ่และเจดีย์ราย ตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก
วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ถ.อู่ทอง ต.บ้านป้อม ต.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธย
|
วัดหน้าพระเมรุ |
|
|
พระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ.2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการามอยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินพระมหา จักพรรดิ์ได้ทรงตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึก กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แผนที่ |
วัดพนัญเชิง |
|
|
อยู่ริมแม่น้ำทางด้านทิศใต้ของพระนครศรีอยุธยาเป็นวัดที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เดิมใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็น พระประธานในพระวิหาร นั้นชื่อ " พระเจ้าพนัญเชิง"สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 1867 ในปี พ.ศ 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะใหม่ทั้งองค์ และถวายพระนามว่า " พระพุทธไตรรัตนนายก"นับเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีอายุมากที่สุดและใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยหน้าตักกว้าง 20.17 เมตร และสูงจาก ชายพระชงฆ์ถึงพระรัศมี 19 เมตร
เว็บไซต์ http://www.watphananchoeng.net/main.php
ติดต่อ 0-3524-1708,0-3524-3873
แผนที่ |
วัดพุทไธสวรรค์ |
|
|
ในราว พ.ศ.1896 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสถาปนาวัดพุทไธสวรรค์ ขึ้น ณ ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นที่ระลึกถึงตำบลเวียงเหล็กซึ่งเป็นสถานที่ทางพักไพร่พลเป็นระยะเวลา ๓ปีหลังจากอพยพหนีโรคระบาดและต่อมาได้ข้ามแม่น้ำมาสร้าง กรุงศรีอยุธยาที่ตำบลหนองโสน ในปี พ.ศ.1893 วัดพุทไธสวรรค์มีจุดเด่นที่องค์พระปรางค์ลักษณะศิลปะแบบขอม งอกงามเป็นที่เชิดชูแก่วัดอย่างมาก บริเวณพระปรางค์ล้อมรอบด้วยพระระเบียงที่มีพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง พระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ที่ ถ.อู่ทอง ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดมหาธาตุ |
|
|
วัดมหาธาตุเป็นวัดใหญ่คู่กับวัดราชบูรณะ ในพงศาวดารกล่าวว่าเริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ( ขุนหลวงพงั่ว) พ.ศ.1917 มาแล้วเสร็จในสมัยพระราเมศวร และมีการก่อสร้างบำรุงรักษามาตลอดจนเสียกรุงในปี พ.ศ.2310 ทำให้มีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามและสำคัญอยู่ มากมายโดยเฉพาะวิหารหลวงขนาดใหญ่ที่เจาะผนังเป็นช่องแทนหน้าต่างพระปรางค์ประธานของวัด ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเดิมมีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 50 เมตรและพังลงมาครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงให้บูรณะซ่อมแซมจนมีความสูงกว่าที่สร้างครั้งแรก แต่ในปัจจุบันพระปรางค์เหลือเพียงส่วนฐาน เพราะหักพังลงมาอีกครั้งในปีพ.ศ.2454 รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ถนนนเรศวร ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดพระศรีสรรเพชญ |
|
|
ตั้งอยู่ระหว่าง วิหารพระมงคลบพิตร และ พระราชวังโบราณ เป็นวัดหลวงในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา เหมือนอย่างเช่น วัดมหาธาตุ ของกรุงสุโขทัย อันเป็นต้นแบบของการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระราชวังของกรุงรัตนโกสินทร์? บริเวณที่ตั้งของวัดนั้นเดิมทีเป็นพระราชวังของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นก่อน เมื่อปี พ.ศ. 1893
ครั้นรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 1991 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่บริเวณริมแม่น้ำลพบุรี ส่วนพระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระราชพิธี และเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์รวมทั้งพระญาติ โดยไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ภายในวัด
วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ที่ ถ.นเรศวร ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
แผนที่ |
|
|
|
|
|
|