พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ |
|
|
พิพิธภัณฑ์พระอุบาลี ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา
เพื่อเฉลิมฉลอง 260 ปี (พ.ศ. 2556) แห่งการสถาปนา
พระพุทธศาสนาสยามนิกาย ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยม
ประชาธิปไตยศรีลังกา น้อมระลึกถึงพระอาลีมหาเถระ พระอริยสงฆ์ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สมควรยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกแห่งปีอีกด้วย
โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556
เป็นการจัดแสดงในอาคารแบ่งออกเป็น 7 โซน
แนวคิดหลักในการนำเสนอ “ธรรมพลี” ของพระอุบาลีมหาเถระ
ความเสียสละ ความวิริยะ อุตสาหะ ผลงานการกอบกู้
ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา |
หอจดหมายเหตุทุ่งมะขามหย่อง |
|
|
หอจดหมายเหตุทุ่งมะขามหย่องตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านใหม่
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา หอจดหมายเหตุ จัดสร้างขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และพระบรมวงศานุวงศ์ ในการเสด็จพระราชดำเนินทุ่งมะขามหย่อง
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 และต้องการให้ประชาชน ได้รู้ถึงประวัติศาสตร์ของทุ่งมะขามหย่องมากขึ้น ทั้งทางที่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงออกทำศึกปกป้องแผ่นดิน
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำทหารออกรบข้าศึก
ที่มาตั้งค่ายที่ทุ่งมะขามหย่อง นอกจากนี้
หอจดหมายเหตุแห่งนี้ก็ยังบอก
เล่าถึงเรื่องราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่องในปี 2493 และทรงมีพระราชดำริให้ใช้ทุ่งมะขามหย่องเป็นพื้นที่แก้มลิง
รองรับน้ำที่ไหลบ่าทุกปี มีระบบชลประทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นประโยชน์กับราษฎรในพื้นที่ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระกรุณาธิคุณ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีต่อชาวไทย แผนที่ |
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา (ศาลากลางหลังเก่า) |
|
|
ชั้นล่าง ด้านหน้าปีกขวา เป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ให้บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว ชั้นบน จัดเป็น
"หอนิทรรศการประวัติศาสตร์อยุธยา" จัดแสดงเรื่องเกี่ยวกับวัดต่างๆ
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเพณีต่างๆ อยุธยามรดกโลก
ท่องเที่ยวเมืองอยุธยา ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรอยุธยา วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นเปิดให้เข้าชมทุกวัน
เว้นวันพุธ เวลา 09.00-17.00 น. ในส่วนของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (035) 322-730-1 |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เจ้าสามพระยา |
|
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ใกล้กับศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า )
เยื้องมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502
โดยใช้เงินที่ประชาชนเช่า พระพิมพ์ซึ่งขุดได้จาก
กรุวัดราชบูรณะที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา)
ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า " เจ้าสามพระยา" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่ง
นี้เมื่อปีพ.ศ.2504 พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีรูปแบบ
การจัดแสดงแผนใหม่ คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงไม่มาก
จนแน่นและได้นำ เสนอดูน่าสนใจมาก สภาพอาคาร
เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่
พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี
ที่เคยประดิษฐานในซุ้ม
พระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐมซึ่งกรมศิลปากร
ได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆขององค์พระที่กระจัดกระจาย
ไปอยู่ในที่ต่าง ๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์
นับว่าเป็น พระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเปิดให้ชมทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ตั้งแต่เวลา
09.00 น. - 16.00 น. แผนที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
จันทรเกษมหรือวังหน้า |
|
|
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ใกล้ตลาดหัวรอ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ.2112 เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราช และพระมหากษัตริย์ หลายพระองค์เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ.2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้โปรดให้ซ่อมพระที่นั่ง พิมานรัตยา และพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จ พระพาสพระนครศรีอยุธยา และสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดให้เปลี่ยนเป็นศาลากลางจังหวัด จนกระทั่งได้สร้างศาลากลางใหม่แล้ว กรมศิลปากรจึงได้ใช้ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จนถึงปัจจุบันนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.00 น.โบราณสถานที่น่าสนใจ แผนที่ |
|
กำแพงและประตูวัง เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๔ของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เป็นในปัจจุบันเพราะ
ขุดพบรากฐานของพระที่นั่ง นอกกำแพงวัดด้านในและพบซากอิฐ
ในบริเวณเรือนจำหลายแห่ง |
|
พลับพลาจตุรมุข เป็นพลับพลาเครื่องไม้ตั้งอยู่บนศาลาใกล้ประตูด้านทิศตะวันออก
เดิมเป็นที่ประทับของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเวลาเสด็จประพาส
ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องลายครามของจีน อาวุธสมัยโบราณและเครื่องราชูปโภคของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวังเคยเป็นที่ตั้ง ศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบันแสดง
พระพุทธรูปเทวรูป พระพิมพ์สมัยต่าง ๆ และเครื่องไม้จำหลักสมัยอยุธยา |
|
พระที่นั่งพิสัยศัลยลักษณ์ (หอส่องกล้อง)เป็นหอสูงสี่ชั้น
อยู่ริมพระราชวังด้านทิศตะวันตก สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้าง
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ตามรากฐานเดิมทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดาว |
พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมอรัญญิก |
|
|
มีดอรัญญิก ได้รับการสืบทอดจากช่างตีเหล็กเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา
เพื่อใช้ในการสู้รบกับข้าศึก แต่ปัจจุบันได้มีการออกแบบเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยยังใช้กรรมวิธีแบบโบราณ เป็นผลิตภัณฑ์โอทอปที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงมาก
ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำกันมาก ที่บ้านต้นโพธิ์และบ้านไผ่หนอง
ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวบ้านต้นโพธิ์และชาวบ้านไผ่หนอง สามารถเข้าไปเยี่ยมชมการตีมีดได้ที่บ้านต้นโพธิ์
อ. นครหลวง จ. พระนครศรีอยุธยา
โดยมีพิธีการเปิดย่านการค้า "ผลิตภัณฑ์อรัญญิก"
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555
ที่ผ่านมา เปิดให้เข้าชมทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
โทร 0-3571-5346 แผนที่ |
พิพิธภัณฑ์เรือไทย |
|
|
พิพิธภัณฑ์เรือไทย ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ
ถนนบางเอียน ภายในบริเวณบ้านพักของ
อาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา ผู้มีความรักและผูกพันกับเรือ
และน้ำมาตั้งแต่เด็กท่านมีความคิดที่จะอนุรักษ์
เพื่อให้เยาวชนได้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นบ้านทรงไทย ขนาดใหญ่ไม้สักฝาเฝี้ยม
ชั้นล่าง จัดแสดงเรือจำลองต่างๆ เรือพระราชพิธี
โดยต่อขึ้นตามแบบเรือจริงทุกประการ
ปัจจุบันมีผลงานนับร้อยลำตั้งแต่เรือเดินสมุทร
ไปจนถึงเรือแจวลำเล็กๆ และมีส่วนที่จัดแสดงเรือไทย
พื้นบ้านนานาชนิดหลายรูปแบบที่ปัจจุบันหาดูได้
ยากตามแม่น้ำลำคลอง เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน
ในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง ตั้งแต
่เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร. (035) 241-195
พิพิธภัณฑ์เรือไทย ตั้งอยู่ที่ 12 ม.1 ถ.บางเอียน
ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น เกริกยุ้นพันธ์ |
|
|
สะสมและรวบรวมของเล่นดีๆ ระดับโลกไว้มากมาย
ทั้งของเล่นที่มีอายุนับร้อยๆ ปี ไปจนถึงของเล่น
ยุคปัจจุบัน ของเล่นไทยและของเล่นจากต่างประเทศ
รวมถึงของเล่นสังกะสีจำนวนมาก
ซึ่งถือเป็นยุคทองของของเล่น
ที่ตั้ง : 45 หมู่ 2 ถ.อู่ทอง ต. ท่าวาสุกรี
อ. เมืองพระนครศรีอยุธยา
เวลาทำการ : 9.00 - 16.00 น. หยุดทุกวันจันทร์ ยกเว้น วันจันทร์ที่
เป็นวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดราชการ พิพิธภัณฑ์เปิดทำการปกติ
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 50 บาท / เด็ก 20 บาท แผนที่ |
พิพิธภัณฑ์มอญ วัดทองบ่อ |
|
|
ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน
พิพิธภัณฑ์มอญ ภายในวัดทองบ่อ มีศิลปะที่แสดงถึง
วัฒนธรรมมอญหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปแบบพม่า คัมภีร์ใบลานหรือคัมภีร์ที่ทำด้วยงาช้างและ
เขียนตัวหนังสือมอญด้วยรักสีดำ ที่ยังคงความสมบูรณ์
และหาดูที่ไหนไม่ได้แล้ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ โทร. 081-8322236
หรือ วัดทองบ่อ โทร. 089-7934033 แผนที่ |
|
|
|
|