อ่าน 2,991
ลูกหนี้นอกระบบ 110 ราย ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือกับทางรัฐบาล ทยอยเข้ารับเงินเพื่อนำไปใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้แล้ว
วันนี้(1/2/53) เวลา 10.00 น. ลูกหนี้นอกระบบของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ที่ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 110 ราย ที่มียอดหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท ทยอยเข้ารับเงินจากนายณรงค์ อ่อนสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมเป็นเงิน 3,098,000 บาท เพื่อนำไปใช้คืนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ตนเองมาลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือที่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยกลุ่มลูกหนี้กลุ่มนี้มีการนัดที่จะจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งหมดภาย ในสัปดาห์นี้ นายณรงค์ อ่อนสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า มีผู้มาลงทะเบียนหนี้สินนอกระบบระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 30 ธันวาคม 2552 และระหว่างวันที่ 1 – 31 มกราคม 2553 รวมลูกหนี้ทั้งหมด 14,195 ราย รวมวงเงินหนี้ 1,349,476,671.20 บาท และเพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้กำหนดกระบวนงานในการแก้ไขปัญหา หนี้สินนอกระบบในพื้นที่จังหวัดประกอบด้วย จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ ที่ทำการปกครองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาลากลางจังหวัดชั้น 2 ถนนสายเอเชีย ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่ทำการปกครองอำเภอทุกแห่ง ส่วน ของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการเจรจาหนี้นอกระบบที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 50000 บาท เสร็จแล้วให้โอนหนี้เข้าสู่ระบบต่อไป อย่างไรก็ตามจังหวัดฯ และอำเภอจะตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของลูกหนี้ และเจ้าหนี้ ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2553 และนัดหมายให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจา ส่วนในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน หากพบลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่มีความพร้อมก็สามารถทำการเจรจา ประนีประนอมได้และให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมจัดทำสัญญายินยอมกัน นอกจากนี้ภายหลังเสร็จสิ้นการเจรจานับตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไป จังหวัดและอำเภอ จะ Re X – Ray พื้นที่ ว่ายังมีลูกหนี้ที่ยังตกค้างไม่ได้ลงทะเบียนอีกหรือไม่ หากมีจะอธิบายชี้แนะเพื่อให้ลูกหนี้เข้าสู่ระบบการลงทะเบียน เพื่อเจรจาหนี้ต่อไป รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่า เป็นห่วงประชาชนที่ได้รับการช่วยเหลือในครั้งนี้ จะกลับเข้าสู่วงจรเดิม คือ เข้าไปกู้หนียืมสิน กับเจ้าหนี้อีก เพราะหลายคนยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ต้องหาเช้ากินค่ำ จึงจะมอบหมายให้แต่ละอำเภอตรวจสอบรายชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือใน ครั้งนี้อย่างใกล้ชิด
ที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
http://ndc.prd.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=449&directory=2017&contents=253157
คำค้นหา