วัดเจ้าพญาไท
หรือ วัดใหญ่ไชยมงคล |
|
|
สร้างเมื่อ พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ทองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปลงศพเจ้าแก้วเจ้าไทย ที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามชื่อวัดป่าแก้ว และโปรดเกล้าฯให้เป็น สำนักสงฆ์เรียกคณะป่าแก้ว ปฎิบัติทางวิปัสสนาธุระต่อมาได้ขนาดนามว่า วัดเจ้าพระยาไทยเพราะเป็นที่สถิตของสมเด็จพระวันรัตพระสังฆราช ฝ่ายขวาซึ่งใน สมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า เจ้าไทย ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพ.ศ.2135 ทรงได้ชัยชนะใน การทำยุทธหัตถี สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษแก่นายทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันได้กราบบังคมทูลให้ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่เฉลิม พระเกียรติที่ตำบลหนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี และที่วัดเจ้าพระยาไทยให้เป็นคู่กับเจดีย์ภูเขาทองที่พระเจ้าหงสาวดีสร้างไว้ พระเจดีย์นี้มีขนาดสูงใหญ่ทรง ระฆัง (ปัจจุบันสูงประมาณ 60 เมตร) ขนาดนามว่าพระเจดีย์ชัยมงคลแต่เรียกเป็นชื่อสามัญว่าพระเจดีย์ใหญ่ต่อมาจึงเรียกชื่อวัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคลแผนที่
วัดใหญ่ชัยมงคลตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3059 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา |
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร |
|
|
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ " วัดกระษัตรา" โดยความหมายของวัดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ในตำบล ที่ตั้งป้อมจำปาพล นอกพระนครฝั่งตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า "ทุ่งประเชต"ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศีอยุธยาหลายครั้งก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2310
วัดกษัตราธิราช ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3469 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดภูเขาทอง |
|
|
สมเด็จพระราเมศวรทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดภูเขาทองเมื่อ พ.ศ. 1930 ณทุ่งฝั่งตะวันออกทางด้านเหนือ ห่างจากพระราชวังไปประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อมาในพ.ศ. 2212 พระเจ้าหงสาวดีมีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้น ที่วัดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติครั้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรพระอารามและ พระเจดีย์ใหญ่ซึ่ง หักพังลงมาก่อนหน้าแล้วแต่ทรงให้เปลี่ยนรูป เจดีย์ทำเป็นรูปย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
วัดภูเขาทองตั้งอยู่ที่ ถนน ยธ. อย. 22255 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดนิเวศธรรมประวัติ |
|
|
ที่ตั้งของวัดนิเวศธรรมประวัติเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตรงกับพระราชวัง บางปะอิน พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ คือโบสถ์ฝรั่งแต่เป็นโบสถ์ฝรั่งแบบเก่าๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในยุโรป แผนที่ |
วัดราชบูรณะ |
|
|
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสมพระยา) เมื่อ พ.ศ.1967 ตรงบริเวณถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งทรงกระทำยุทธหัตถีแย่งชิงราชสมบัติจนสิ้นพระชนม์ สถานที่กระทำยุทธหัตถีเชิงสะพานป่าถ่าน อันเป็นจุดกึ่งกลางวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น 2 องค์
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ที่ ถนนนเรศวร ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามวัดมหาธาตุ แผนที่ |
วัดพระราม |
|
|
สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระรามขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ.1912 ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้ในสมัยสมเด็จ พระบรมไตร โลกนาถและอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปัจจุบันวัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระราม ซึ่งเดิมเรียกว่า หนองโสนใกล้กับพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) และอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร
วัดพระรามตั้งอยู่ที่ถนนนเรศวร ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามวัดมงคลบพิตร แผนที่ |
วัดธรรมิกราช |
|
|
อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ตามตำนานกล่าวว่าพระยาธรรมิกราช พระราชบุตรพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ได้เสวยราชย์และสร้างวัดมุขราช ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราชไม่พบหลักฐานว่าสร้างในปีใด แต่คงจะเป็นวัดเก่าแก่ สมัยเดียวกับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ติดขอบเขต กำแพงพระราชวังหลวง ซึ่งต่อมายกเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในวัดมีวิหารทรงธรรมซึ่งมีขนาดใหญ่มากตั้งอยู่บนเนินสูง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่มีขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัย อู่ทองที่งดงามมากปัจจุบันเหลือเพียงพระเศียร และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดธรรมิกราช ตั้งอยู่ที่ ถ.อู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดสมณโกฏฐาราม |
|
|
วัดสมณโกฏฐาราม จ.พระนครศรีอยุธยาหรือ วัดพระยาคลัง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (กษัตริย์องค์ที่ 27) ต่อมาในปี พ.ศ. 2233 สมัยสมเด็จพระเพทราชา (กษัตริย์องค์ที่ 28) ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่ดุสิต มารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ ณ วัดแห่งนี้ อีกทั้งยังเป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้เคยทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกด้วย
วัดสมณโกฎฐาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3058 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่ |
วัดดุสิดาราม |
|
|
สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปี พ.ศ. 2100 ต่อมาได้มีการบูรณะในสมัยอยุธยาตอนปลายวัดดุสิตารามมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์คือ เป็นวัดที่เจ้าแม่วัดดุสิตพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์ (กษัตริย์องค์ที่ 27)และเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้บุรณะปฏิสังขรณ์ และเป็นวัดทีมีที่ตั้งใกล้กับตำหนักเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นตำหนักที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่พำนักแก่พระสนมของพระองค์
จุดสนใจภายในวัดดุสิตาราม ประกอบด้วย
- เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง ลักษณะคล้ายเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล
- พระอุโบสถเป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งแบบเรือสำเภา
|
|
|