logo
leftim upim rightim upimupim
lineim
วัด
พระที่นั่ง
พระราชวังหลวง
พิพิธภัณฑ์
โบราณสถานในเกาะบางปะอิน
ศูนย์ศิลปาชีพ/ศูนย์ศึกษาฯ
สวนสาธารณะ
หมู่บ้านโปรตุเกส /หมู่บ้านญี่ปุ่น
พระราชานุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน
ตลาดบก / ตลาดน้ำ
ร้านของฝากของที่ระลึก
อื่นๆ
 
 แผนที่ท่องเที่ยว
 ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี
สกู๊ปวีดีโอท่องเที่ยว/กิจกรรม
 เทศกาลประเพณี
 สถานที่พัก
 ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำอำเภอ
 การเดินทาง
lineim
วัดสุวรรณดาราราม

 

 

หรือ วัดทอง ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมเพชร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โดย สมเด็จพระบรมราชชนกในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้สร้างขึ้น ต่อมารัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม เมื่อปี พ.ศ. 2328 และพระราชทานนามว่า วัดสุวรรณดาราราม เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์คือ ทองดี และ ดาวเรือง
วัดสุวรรณดารารามนี้ โดดเด่นไปด้วยงานจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถและพระวิหาร รวมทั้งสถาปัตยกรรมภายในวัด
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถ.อู่ทอง ต.หอรัตนชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่

วัดโลกยสุธาราม
หรือวัดพระนอน

อยู่ถัดจากเจดีย์ศรีสุริโยทัยเข้าไปทางด้านหลังประมาณกิโลเมตรเศษ   บริเวณวัดอยู่ติดกับวัดวรเชษฐารามถ้าจะเดินทางไปชมจะไปทางรถยนต์ผ่านไปตามถนน ในบริเวณโรงงานสุราหรือจะเข้าไปตามถนนหลังพลับพลาตรีมุขในบริเวณพระราชวังโบราณ ผ่านวัดวรโพธิ์และวัดวรเชษฐาราม เข้าไปจนถึงพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ของวัดได้ พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูนยาวประมาณ 42 เมตรมีซากพระวิหารเป็น 8 เหลี่ยม ขนาดใหญ่อยู่ชิดองค์พระเหลืออยู่หลายต้นเข้าใจว่าเป็นซากพระอุโบสถ แผนที่

วัดกุฎีดาว

 

 

เป็นวัดขนาดใหญ่ลักษณะการสร้างและรูปแบบศิลปะคล้ายกับวัดหลวง ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น   ถึงอยุธยาตอนกลาง โดยเฉพาะบัวหัวเสาที่เป็นบัวกลุ่มใช้ดินเผารูปกลีบบัวขนาดเล็ก เป็นหุ่นอยู่ภายในคล้ายกับที่พบในวิหารหลวงของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ.2042 วัดกุฎีดาว จึงน่าจะสร้างมาแล้วอย่างน้อยในสมัยอยุธยาตอนกลางในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัว ท้ายสระ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้เมื่อพ.ศ.2254 และให้สร้างตำหนักเพื่อประทับเมื่อเสด็จฯ มาทอดพระเนตรการบูรณะซึ่งแล้วเสร็จใน 3 ปี ตำหนักหลังนี้ได้ชื่อว่า "ตำหนักกำมะเลียน"
วัดกุฎีดาวตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3058 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่นอกเกาะเมือง ตรงข้ามกับทางเข้าวัดมเหยงคณ์ แผนที่

วัดมเหยงค์

 

วัดมเหยงค์สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา) เมื่อพ.ศ.1981 สถาปัตยกรรม เป็นแบบลังกา คือ เจดีย์ประธานทรงระฆังบนฐานมีช้างล้อมรอบ เจดีย์ราย ก็เป็นทรงระฆังวัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ.2252 ระหว่างนั้นทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักขึ้นนอกกำแพงวัดเพื่อประทับทอดพระนคร การปฏิสังขรณ์ ซึ่งกินเวลานานถึง 3 ปีเศษเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลอง เป็นการใหญ่ถึง ๗วันตามพงศาวดารกล่าวถึงวัดนี้ไว้ว่า เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อพ.ศ.2112 พระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ตั้งทัพหลวงบัญชาการอยู่ ณ วัดมเหยงค์แห่งนี้ ระยะเวลาปิดล้อม กรุงศรีอยุธยานานถึง 9 เดือน แผนที่

วัดบรมพุทธาราม

 

 

 

 

วัดบรมพุทธาราม อยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยาชาวบ้านเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า วัดกระเบื้องเคลือบเพราะเดิมนั้นพระอุโบสถ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว วัดนี้สมเด็จพระเพทราชาทรงสร้างขึ้นที่พระนิเวศน์เดิมเป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชาพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๘ได้ทรงโปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระองค์ก่อนขึ้นครองราชย์เมื่อพ.ศ. 2226 ( ศักราช 1045 ) ในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอ้างอิงจาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้า สร้างพระอารามพระอุโบสถ พระวิหาร เสนาสนะ กุฏี แล้วให้จมื่นจันทราช่างเคลือบกระเบื้องสีมุงหลังคาพระอุโบสถแล้วถวายนามว่า วัดบรมพุทธาราม มีพระอธิการนามว่า พระญานสมครั้นถึง รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. 2295 โปรดให้ซ่อมวัดนี้ครั้งหนึ่งและได้โปรดให้สร้างบานประตูมุกสำหรับประตูพระอุโบสถบานหนึ่ง ปัจจุบันบานประตูนี้อยู่ที่หอมณเฑียรธรรมวัดพระศรีรัตนศาสดารามบานหนึ่ง วัดเบญจมบพิตรบานหนึ่ง และอีกบานหนึ่งถูกคนร้ายลักลอบตัดไปบางส่วนต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ได้ให้ย้ายมาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครบานประตูทั้ง 3 บานนี้มีฝีมืองดงามประณีตมาก
วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ที่ ถ.พระศรีสรรเพชญ์ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดธรรมาราม  
 

วัดธรรมาราม   เป็นวัดโบราณสร้างแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จะสร้างมาแต่รัชสมัยใดใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎหลักฐานสร้างมาไม่น้อยกว่า 414 ปี ที่ตั้งของวัดปัจจุบันในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แผนที่

วัดท่าการ้อง
 
วัดท่าการ้อง เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยา สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2092 ประมาณ 450 ปี เศษมาแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในปี พ.ศ. ใด สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดที่ ราษฎรสร้าง เพราะไม่ปรากฏรายชื่อพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ตามบันทึกพระราชพงศาวดาร วัดท่าการ้องมีบทบาทสำคัญใน ประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามากมายวัดท่าการ้องได้เป็นที่ฝึกฝนศิลปะแม่ไม้มวยไทยของนักมวยไทย ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือ นายขนมต้ม
วัดท่าการ้อง ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 3469 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่
วัดวรเชษฐาราม  

 

 

 

 

วัดวรเชษฐาราม วัดที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวร
หรือ วัดวรเชษฐ์ เป็นพระอารามหลวงเก่า ที่ตั้งอยู่ภายในเกาะเมือง โดยอยู่ระหว่างวัดโลกยสุธาราม และวัดวรโพธิ์ สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี พ.ศ. 2136 เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระเชษฐา ที่ได้สวรรคตลงขณะยกทัพไปเมืองตองอู โดยได้บรรจุพระบรมอัฐิไว้ภายในวัดวรเชษฐาราม ซึ่งเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเชษฐา เนื่องด้วยวัดวรเชษฐารามของอยุธยา มีอยู่สองแห่งด้วยกัน คือ ในเกาะเมืองและนอกเกาะเมือง ซึ่งก็มีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างพงศาวดารกับสถานที่ตั้ง แต่อย่างไรก็ตามวัดวรเชษฐารามแห่งนี้ (ในเกาะเมือง) ได้เคยมีผู้ลักลอบขุดกรุเจดีย์ประธานโดยได้พบผอบบรรจุอัฐิซึ่งมีพระพุทธรูป นาคปรกล้อม อันเป็นพระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพ (วันเสาร์) ของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่ทำให้เชื่อว่า วัดวรเชษฐารามแห่งนี้ น่าจะเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิพระเชษฐาของพระองค์
วัดวรเชษฐาราม ตั้งอยู่ที่ ถ.คลองท่อ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แผนที่
วัดตาลเอน  
วัดตาลเอน เป็น วัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีโดยดูจากองค์ พระประธานในอุโบสถ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะอยุธยาที่พระพักตร์อันงดงามน่าจะมี อายุไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ ปี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงพ่อปลั่ง” เป็นวัดราษฎร์ มีเนื้อที่ดินบริเวณวัด 51 ไร่เศษ ตั้ง อยู่ที่หมู่ 1 ต. ตาลเอน อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ริมฝั่งขวาของคลองบางพระครู เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจ และบำเพ็ญกุศล ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้าน
เป็นวัดที่มีฝูงค้างคาวแม่ไก่และนกน้ำนานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ นกกระยาง เป็นต้น แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นและธรรมชาติอันเงียบสงบ  ด้านหลังของวัดติดกับคลองชลประทานมีฝูงปลาน้ำจืดอาศัยอยู่นานาชนิด แผนที่
 

 

bottomim bottomim rithim upimupim
spaceim
พัฒนาข้อมูลโดย:กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร/โทรสาร. 0-3533-5665 ต่อ 26