สิงคโปร์มีโรงงานรีไซเคิลน้ำ
สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กที่มีทรัพยากรจำกัดแต่มีระบบสารณสุขโภคที่ประเทศเพื่อนบ้านไปดูงานอย่างเช่น
ระบบประปาด้วย สภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ทำให้สิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้อง เผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำจืด และพึ่งพาการนำเข้าน้ำจากมาเลเซียมานานนับสิบปี รัฐบาล จึงมุ่งมั่นพัฒนาระบบประชาให้ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้เกาะสิงคโปร์สามารถพึ่งพาทรัพยากรน้ำของตนเองได้ ก่อนที่ข้อตกลงสั่งซื้อน้ำจากมาเลเซียฉบับล่าสุดจะหมดอายุุลงในปี พ.ศ. 2604 (2061)
ปัจจุบัน สิงคโปร์มีโรงงานรีไซเคิลน้ำ และโรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลหลายแห่ง ซึ่งสามารถผลิตน้ำจืดได้ราวร้อยละ 40 ของปริมาณน้ำ 340 ล้านแกลลอนที่โรงงานอุตสาหกรรม และพลเมือง 5.2 ล้านคนใช้บริโภคในแต่ละวัน นอกจากนี้ เขื่อนที่อยู่ใจกลางเมืองยังสามารถผลิตน้ำเพื่อสนองการบริโภคได้อีก ร้อยละ 10 และส่วนที่เหลือได้จากอ่างเก็บน้ำต่างๆ รวมถึงน้ำที่นำเข้าจากมาเลเซีย
โรงงานไรไซเคิลน้ำแห่งแรกเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ.2546 (2003) โดยน้ำที่ผลิตได้ใช้ชื่อว่า NEWater จะถูกนำไปผสมกับน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ ก่อนส่งผ่านระบบประปาไปยังผู้บริโภค ดังนั้นน้ำประปาสิงคโปร์จึงปลอดภัยและสามารถดื่มได้จากก๊อกโดยตรง
โดย สำนักงาน ก.พ. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558