ไทย-เวียดนาม ยกระดับความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
กระทรวง แรงงาน ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย จัดสัมมนาระหว่างประเทศ หัวข้อ "การส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานเพื่อตระหนักถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน" เพื่อการยกระดับความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงปรับปรุงการจัดการด้านแรงงานต่างชาติให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการ พัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ภายในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
หม่อม หลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานร่วมเปิดการสัมมนาระหว่างประเทศ หัวข้อ "การส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานเพื่อตระหนักถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน" (International Seminar "Enhancing ASEAN Sub-regional Labour Cooperation to realize the Sustainable Development Goals” ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ โดยกล่าวว่า การดำเนินการสัมมนาฯ ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงแรงงานกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย เพื่อยกระดับความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง NGO รวมถึงสถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความร่วมมือด้านแรงงานเพื่อนำไปปรับปรุงขีดความ สามารถในการแข่งขันระดับประสิทธิภาพโดยรวม รวมทั้งการที่จะบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ตามวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาฯ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ และสนับสนุนกลุ่มประเทศ CLMTV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) ต่อการริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงปรับปรุงการจัดการด้านแรงงานต่างชาติให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการ พัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ภายในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ นั่นเอง
ทั้ง นี้ การอพยพแรงงานนับเป็นปรากฏการณ์ในระดับโลก ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) ได้จัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งความแตกต่างของการพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ จะทำให้เกิดการตัดสินใจเลือกทำงานเพื่อโอกาสที่ดีกว่าต่อไป
นาย เหงียน ตัด ถั่น เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานถือว่าเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญมากต่อความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ซึ่งมีการบูรณาการกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือเรื่องแรงงานข้ามชาติ ได้รับความสนใจเชิงนโยบายมากขึ้นในระดับโลก แรงงานข้ามชาติได้รวมอยู่ในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในระดับภูมิภาค เมื่อไม่นานมานี้ เวียดนามได้มีการลงนามปฏิญญาอาเซียนในการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิของแรง งานข้ามชาติ รวมถึงอาชีพต่างๆ อีกมากมาย ขณะนี้ทำให้สามารถโยกย้ายแรงงานได้ง่ายขึ้น สามารถข้ามพรมแดนในประชาคมอาเซียนได้อย่างสะดวก ฉะนั้น ความพยายามในการร่วมมือและวิธีการอย่างครอบคลุมของรัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศนั้น นับเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทบทวนนโยบายระดับภูมิภาค นโยบายระดับประเทศให้ตรงกับ SDG ซึ่งมีการรับรองไปแล้วให้เป็นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือแบบพหุภาคีทางด้านแรงงานระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ขอบคุณความริเริ่มของประเทศไทยในความเป็นผู้นำของความพยายามดังกล่าว ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของประเทศมากขึ้น
"แรง งานข้ามชาติก่อให้เกิดประโยชน์มากมายในการพัฒนาทั้งในประเทศต้นทางและปลาย ทาง โดยเฉพาะเรื่องของทักษะในงาน การเงินส่งกลับประเทศ เป็นต้น แต่แรงงานข้ามชาติที่มีทักษะต่ำและแรงงานสตรียังคงพบสภาพที่ที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติบางคนตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ การถูกกดขี่ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน” นายเหงียน ตัด ถั่น เอกอัครราชทูตฯ กล่าว
นอก จากนี้ เอกอัครราชทูตฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมฯ ครั้งนี้ได้เสนอใน 3 ประเด็น คือ ตัวอย่างการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในระดับ ประเทศ ระดับภูมิภาค ทั้งบทบาทของรัฐบาล องค์กรฯ และภาคธุรกิจ ประเด็นการคาดการณ์ความร่วมมือด้านแรงงานในประเทศกลุ่ม CLMTV โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามและประเทศไทย ตลอดจนประเด็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนครอบคลุมการยกระดับความร่วมมือ ด้านทวิภาคีและอนุภูมิภาค ในเรื่องของการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่องต่อไป