นอกจากนี้ ยังเน้นการขยายและกระชับความสัมพันธ์ในเชิงลึกกับภาคีภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่เจรจา ผ่านความร่วมมือและกลไกอาเซียนที่มีอยู่ เช่น ASEAN+1 ASEAN+3 East Asia Summit (EAS) ASEAN Regional Forum (ARF) และ ASEAN Defense Ministers’ Meeting (ADMM) โดยให้ความสาคัญกับการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมความมั่น คงในภูมิภาค
2. เสาเศรษฐกิจ มีประเด็นสาคัญ ๆ ได้แก่
การรวมตัวทางเศรษฐกิจภายในอาเซียนที่ลึกซึ้งและสอดคล้องกันมากขึ้น การลดช่องว่างด้านการพัฒนาภายในอาเซียน การใช้เทคโนโลยีและพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่านการพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนากลไกระดับภูมิภาคและระดับชาติเพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ที่อุบัติขึ้นใหม่ อาทิ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และภัยธรรมชาติ การรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในกระบวนการการรวมตัวทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออก และการขยายความเชื่อมโยงในทุกระดับในภูมิภาคเอเชียผ่านกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียนและอนุภูมิภาค ตลอดจนการส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลก เพื่อกาหนดท่าทีร่วมกันในประเด็นสาคัญ ๆ ระดับโลก
3. เสาสังคมและวัฒนธรรม มีประเด็นสำคัญ ๆ ได้แก่
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมของประชาชนอาเซียน การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน การพัฒนาทางสังคมที่สมดุล การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อตั้งรับและปรับตัวเข้ากับแนวโน้มการเปลี่ยน แปลงและความท้าทายใหม่ๆที่อุบัติขึ้น
คณะทำงานระดับสูงฯ มีประชุมครั้งแรกระหว่างวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2558 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อเริ่มจัดทำ วิสัยทัศน์ฯ โดยไทยเห็นควรผลักดันประเด็นสาคัญ ๆ ดังนี้
1) การรักษาความเป็นหนึ่งเดียวและบทบาทของอาเซียนใน ภูมิภาค โดยอาเซียนจำเป็นต้องพยายามหาฉันทามติในประเด็นสำคัญ ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันให้ทันการณ์ ซึ่งต้องอาศัยสำนักเลขาธิการอาเซียนที่เข้มแข็งและการดำเนินงานของอาเซียน ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2) การสร้างประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการลดความเหลื่อมล้ำ
3) การส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก
วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 จะเป็นเอกสารที่กำหนดอนาคตและทิศทางของอาเซียนเพื่อให้ ภูมิภาคมีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง เป็นประชาคมที่มีกฎกติกา และยึดประโยชน์และการมีส่วนร่วม ของประชาชนเป็นสำคัญอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
นอกจากนี้ อาเซียนจะยังคงมีปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศภายนอกภูมิภาคต่อไปอย่างสร้างสรรค์
ผู้นำอาเซียนจะรับรองวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 พร้อมด้วยแผนงานประชาคมอาเซียน ฉบับใหม่สำหรับปี 2559-2568 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ซึ่งกาหนดจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
โดย กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ วันท่ี่ 8 เมษายน 2558