วัฒนธรรมอาหารไทยในโลกของเศรษฐกิจดิจิทัลเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัฒนธรรมอาหารไทยในโลกของเศรษฐกิจดิจิทัล

ผู้เขียน:  เจ้าหน้าที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 10:10 น.

 อ่าน 6,444
วัฒนธรรมอาหารไทยในโลกของเศรษฐกิจดิจิทัล
 
       อาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย เกิดจากภูมิ-
ปัญญาของชาติที่คิดค้น ปรับปรุง พัฒนา ดัดแปลง นำเอาวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่นประกอบกันเป็นอาหารไทย จนเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของบรรดานักท่องเที่ยวทุกชาติที่เข้ามาในประเทศ ไทย โดยเฉพาะต้มยำกุ้งที่รู้จักกันทั่วโลกถึงขนาดที่นำไปใช้แทนการพูดถึงประเทศ ไทยในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี ค.ศ.1997 ว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง (Tom Yum Kung crisis)
 
    จากการมีชื่อเสียงในด้านวัฒนธรรมทางอาหารดังกล่าว ในยุคที่ภาครัฐส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy) ประเทศไทยจึงน่าจะทำอะไรเกี่ยวกับอาหารไทยในโลกของเศรษฐกิจดิจิตอลได้บ้าง ถ้ายังไม่ทราบว่าเศรษฐกิจดิจิทัลคืออะไร คำตอบง่าย ๆ เศรษฐกิจดิจิทัล คือ กิจกรรมการผลิต การบริโภค การซื้อขายแลกเปลี่ยนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สินค้าที่ซื้อขายกันอาจจะเป็นสินค้าดิจิทัลโดยตรง เช่น ภาพยนตร์ เพลง เกม โปรแกรมสำเร็จรูป ภาพถ่าย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือสินค้าที่จับต้องได้ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อุปกรณ์กีฬา รวมการให้บริการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งหนทางที่สะดวกและแพร่หลายที่สุดที่มีการทำการค้ากันคือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) นั่นเอง
 
   ในส่วนของการนำวัฒนธรรมอาหารไทยไปสู่โลกของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นอาจจะดำเนินการไปตามแนวทางเหล่านี้ เช่น
1. เปิดโรงเรียนสอนทำอาหารออนไลน์ให้กับชาวต่างชาติ
2. จำหน่ายคู่มือการประกอบอาหารไทยให้ชาวต่างชาติ
3. จำหน่ายวัตถุดิบ เครื่องแกง เครื่องปรุงอาหารไทยให้ชาวต่างชาติ
4. จำหน่ายอุปกรณ์การประกอบอาหารไทยให้กับชาวต่างชาติ
5. สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีการกินอยู่ของไทยเผยแพร่ไปยังชาวต่างชาติ
6. จัดทำแหล่งรวมอาหารไทย รีวิวร้านอาหารไทย สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
7. ประชาสัมพันธ์สินค้าไทย OTOP ที่เกี่ยวกับอาหารให้กับชาวต่างชาติ
8. อื่น ๆ
 
    การประกอบธุรกิจด้านอาหารในเศรษฐกิจดิจิทัลหรือเศรษฐกิจเครือข่ายดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินการอยู่แล้วบ้าง แต่ยังมีตลาดรองรับได้อีกมาก นอกจากนี้ การทำเว็บไซต์เกี่ยวกับธุรกิจด้านอาหารสำหรับชาวต่างประเทศ (ไม่เฉพาะเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ แต่รวมถึงภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ด้วย) ยังเป็นสิ่งที่ยังไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ถือว่ายังเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อย ต่างจากการเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าทั่วไป เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแข่งขันสูงมาก
 
    ในกรณีของการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารไทยบนโลกออนไลน์ นอกจากผู้ประกอบการจะได้กำไรเป็นผลตอบแทนแล้ว ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจยังเชื่อมโยงไปถึงผู้ผลิตวัตถุดิบ อุปกรณ์การประกอบอาหาร และอาจจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้อีกด้วย
 
โดย : ส่วนอาเซียน  สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ 15 มิถุนายน 2558

คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทข่าวอาเซียนทั่วไป
ข่าวโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด