การแต่งกายชุดประจำชาติของประเทศในอาเซียนเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การแต่งกายชุดประจำชาติของประเทศในอาเซียน

ผู้เขียน:  นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ สพจ.อย. จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:20 น.

 อ่าน 198,215

 การแต่งกายชุดประจำชาติของประเทศในอาเซียน
 
          ชุด ประจำชาติ เป็นสื่อหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้แสดงถึงอัตลักษณ์ของประเทศ การแต่งกายชุดประจำชาติ นั้นถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ประจำชาติ ศิลปะ วิถีชีวิต ความเชื่อของแต่ละประเทศ ซึ่งมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน และบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อม สภาพของสังคมของแต่ละประเทศ และการแต่งกายที่คล้ายคลึงกันของประเทศในอาเซียน ยังแสดงถึงความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคนี้อีกด้วยประเทศใน สมาชิกอาเซียนมีการแต่งกายในชุดประจำชาติดังต่อไปนี้
 
ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน

สำหรับ ชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้า ที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
 
ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา

เครื่อง แต่งกายประจำชาติของผู้ชายปร ะเทศกัมพูชานั้นมักสวมใส่เสื้อคอปิดกระดุมห้า เม็ด ที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว หรือ โจงกระเบน ส่วนผู้หญิง จะนุ่งผ้าถุงที่เรียกว่า ผ้าซัมปอต (Sampot) ที่ทอด้วยมือ ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ผ้าถุงซัมปอดมีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี มีการจับจีบด้านหน้า  เวลาใส่จะคาดเข็มขัดทับเสื้อบริเวณเอว ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง ในบางโอกาสผู้หญิงอาจจะใส่ซัมปอดตามสีประจำวัน สำหรับผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขน ยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว
 
ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางการค้าขายติดต่อกับอินเดีย จีน และยุโรป มานาน กว่าร้อยปี ซึ่งความสัมพันธ์นี้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทักษะพื้น บ้านและวัตถุดิบในการผลิต ผ้าทอของอินโดนีเซียซึ่งผลิตทั้งผ้าฝ้ายพื้น ๆ ผ้าฝ้ายที่วิจิตร ผ้าทอผสมเส้นใยไหม เส้นทองและเส้นเงิน มีชุดแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำถิ่น สำหรับชุดประจำชาติผุ้ชายจะใส่เสื้อคอปิดแขนยาวที่ทำจากผ้าลินิน และมีลวดลายที่ทำเป็นผ้าบาติก สวมหมวก (พิทจิ) และ นุ่งโสร่ง (ปาเต๊ะ) และอาจเหน็บกริชไว้ด้วย ส่วนการแต่งกายของผู้ชายธรรมดามักจะสวมใส่ เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว หรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด ส่วนชุดผู้หญิงเรียกว่า เกบาย่า (Kebaya) มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวพอดีตัว คอแหลมผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ นุ่งกับโสร่งที่เป็นลวดลายที่เป้นผ้าบาติกใช้สีสันกันเป็นทางบ้าง เป็นดอกบ้าง ผู้หญิงบนเกาะสุมาตราจะใส่เสื้อหลวยยาวถึงเข้าและมีผ้าพาดไว้ด้ายหนึ่งที่ เรียกว่า บัตยูกรุง เช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อชาวมาเลเซียจะเป็นคอยูและเสื้อยาว

ชุดประจำชาติของสปป. ลาว    

                 ผู้หญิง ลาวจะนุ่งผ้าซิ่น หรือ Patoi มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย ที่ทอเป็นลวดลาย เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ห่มสไบเฉียงพาดไหล่ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้ สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน ถ้าเป็นข้าราชการหรือผู้มีฐานะดีนิยมนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด (คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย) และเนื่องจากผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ "หมากไม” คือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อ แบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ
 
ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย                         
                                       
 
มาเลเซีย เป็นชื่อใหม่ ของประเทศมาลายู (เมื่อปี ค.ศ. 1963)  เป็นดินแดนที่มีชนหลายภาษาอาศัยรวมกัน เช่น มลายูแท้ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย การแต่งกายจึงแตกต่างกันตามประเพณีนิยมของแต่ละเชื้อชาติ สำหรับชุดประจำชาติ ของผู้ชาย เรียกว่า บาจู (โสร่ง) มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย บางคนสวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ บางครั้งมีผ้าพันรอบเอว คนแก่มักมีผ้าห้อยไหล่

สำหรับ ชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวถึงข้อมือ ปล่อยชายเสื้อไว้ด้านนอกโสร่ง สวมกระโปรงยาว หรือโสร่งปาเต๊ะสีสดมีลวดลายดอกดวงงาม บางคนจะมีผ้าบาง ๆ คลุมศีรษะ คลุมไหล่ ชาวมาลายูชอบใช้เสื้อผ้า สีสดใสมีลวดลาย ใบไม้ดอกไม้โต ๆ สลับสีกัน

ชุดประจำชาติของเมียนมาร์                   

ประชากร ของเมียนมาร์เป็นชนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเผ่า และถึงแม้จะเคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลงไป โดยการแต่งกายชุดประจำชาติ ของทั้งชายและหญิง เป็นการนุ่งผ้าโสร่งที่เรียกว่า ลองยี (Longyi) ผู้หญิงนิยมสวมเสื้อคอกลมสูง แขนกระบอก เสื้อเข้ารูป ติดกระดุมด้านข้าง หรือเสื้อแขนยาวกระดุมผ่าหน้า มีผ้าพันอกด้านใน โดยเสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ นุ่งโสร่งยาวคลุมข้อเท้า วัสดุของผ้าซิ่นหรือโสร่งจะเป็นผ้าปักดิ้น มีผ้าใช้คล้องคอ ผมเกล้ามวยมีปิ่นปัก ดอกไม้สวยงาม สวมเครื่องประดับทอง เช่น ต่างหู กำไล สร้อยไข่มุก ส่วนผู้ชายนิยมสวมเสื้อตัวสั้นแขนยาว มีทั้งแบบคอจีน กระดุมผ่าหน้า หรือเสื้อป้าย นุ่งโสร่งลายเล็กๆ มีผ้าพันศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung)

ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ เคยอยู่ในการปกครองของสเปนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 จึงได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการแต่งกาย จากเสปน เครื่องแต่งกายก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตก ต่างจากการแต่งกายแบบเดิมที่ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยมตกแต่งด้วยเครื่องประดับ และสักตามร่างกาย

ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์นิยมแต่งการชุดประจำชาติในช่วงเทศกาล เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อมีปกคอตั้งสูง ที่มีลายปักด้านหน้าเรียกว่า บารองตากาล็อก "barong Tagalog” ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสับปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย เสื้อปล่อยชายนอกกางเกง ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก "balintawak” ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุด ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใยสับปะรด นุ่งกางเกงแบบสากล

การ ทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมากโดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน                          

ชุดประจำชาติของประเทศสิงคโปร์

 
สิงคโปร์ เป็นสาธารณรัฐตั้งอยู่บนเกาะเล็กปลายแหลมมาลายู มีพื้น ที่ราว 616 ตาราง กิโลเมตร สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีการแต่งกายต่างกันไปตามเชื้อชาติของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใสและดอกคล้ายโสร่งของอินโดนีเซีย แบบอาจจะเพี้ยนไปบ้าง ใช้ผ้าพื้น เข้มทำตัวเสื้อ มีลวดลายตามรอบคอ สาบ และปลายแขน ส่วน ชายแต่งชุดสากล หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
 
ชุดประจำชาติของประเทศไทย          

ช่วง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีวิวัฒนาการการแต่งกายแบบไทยที่สำคัญ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวาระที่โดยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และ สหรัฐอเมริกา โดยทีทรงมีพระราชดำริว่าไทยเรายังไม่มีชุดแต่งกายปะจำชาติที่เป็นแบบแผน เหมือนชาติอื่น ๆ และการเสด็จประพาสครั้งนี้ก็เป็นราชการสำคัญ จึงโปรดฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้หารือกับผู้รู้ทางประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของไทยสมัยต่าง ๆ และโปรดให้คุณอุไร ลืออำรุง ช่างตัดฉลองพระองค์เลือกแบบต่าง ๆ มาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม จัดเป็นชุดไทยพระราชนิยมหลายชุด และกำหนดให้เลือกใช้ในวาระต่าง ๆ กัน ทำให้เกิดการแต่งกายแบบไทยตามแนวพระราชนิยม คือ ชุดไทยพระราชนิยมสำหรับหญิง และชุดไทยพระราชทานสำหรับชาย ทั้งสองชุดนี้ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นชุดประจำชาติของไทย

สำหรับ ชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน" หรือถ้าใส่ในพิธีการ จะเป็น ชุดราชปะแตน ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบันมาเป็นสวมเสื้อนอกสีขาวคอปิด ติดกระดุมห้าเม็ดแทน เรียกว่า "ราชแปตแตน” (RAJ PATTERN ภายหลังเพี้ยนเป็นเรียกว่า "ราชปะแตนท์” ) และยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมถุงน่องรองเท้า เหตุที่คงถุงน่องไว้เชื่อว่าเป็นเพราะเห็นเป็นเครื่องแต่งกายที่สุภาพ

สำหรับ สุภาพสตรี ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. ชุดไทยเรือนต้น 2. ชุดไทยจิตรลดา 3. ชุดไทยอมรินทร์ 4. ชุดไทยบรมพิมาน 5. ชุดไทยจักรี  6. ชุดไทยจักรพรรดิ 7. ชุดไทยดุสิต 8. ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยพระราชนิยมที่พบเห็นบ่อยและเป็นที่รู้จักคือ ชุดไทย จักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูป ทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงาม สมโอกาสในเวลาค่ำคืน และชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือยกดอกทั้งตัว ผ้าซิ่นยาวป้ายหน้าคนละท่อนกับตัวเสื้อซึ่งแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อย ๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุขของประเทสที่มาเยือนเป็นทางการ พิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษา หญิงไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรสวยงามมากให้สมโอกาส สำหรับงานพิธีนิยมเครื่องประดับที่หรูหราขึ้น   

 

ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม        

เวียดนาม ไม่มีศาสนาประจำชาติ แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเวียดนาม ศิลปะวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตคล้ายกับชาวจีน ดังนั้น การแต่งการชุดประจำชาติจึงได้อิทธิพลจากจีน
สำ หรับผัหญิงใส่ชุดอ่าวหญ่าย (Ao dai) ที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวตัวในที่เป็นผ้า แพรยาวจรดข้อเท้า เสื้อตัวนอกนี้มีคอปกตั้ง ติดกระดุมป้ายข้างมีความยาวคลุมข้อเท้าและผ่าข้างขึ้นมาถึงเอว แขนกระบอกยาวถึงข้อมือ ซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมีลักษณะคล้าย ชุดกี่เพ้าของจีน เกล้าผมเป็นมวย สวมหมวกรูปคล้ายงอบ มีพู่สำหรับรัดคาง สวมรองเท้าไม้ที่มีส้นสูง เกี ยะ)ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายคล้ายผู้หญิง แต่หมวกจะเป็นสีดำและไม่มีปีกหมวก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว จะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายคล้ายจีน ในลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงามของสาวเวียดนาม

คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทข่าวอาเซียนทั่วไป
ข่าวโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด