นพ.พิทยา ไพบูลย์ศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติระดับจังหวัด กล่าวว่า คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีบทบาทหน้าที่ในการให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ
โดยทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ ภาคการเมือง ภาควิชาการ วิชาชีพ และภาคสังคม มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน
อาทิ การจัดทำรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ การจัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามประเมินผล เกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติ
และผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 39 คน โดยมีนายกรัฐมนตรี
หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นประธาน ในปัจจุบันคณะกรรมการที่ทำงานดังกล่าว จะสิ้นสุดวาระในวันที่ 6 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จึงจะเปิดรับสมัครองค์กรเอกชนทีไม่แสวงหากำไรเข้าร่วมทำงานในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำหรับองค์กรเอกชนแบ่งเป็นกลุ่มดังต่อไปนี้ 1.กลุ่มขององค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิก เช่น กลุ่มออกกำลังกาย กลุ่มผู้ป่วยโรคต่างๆ(เอดส์ เบาหวาน ความดัน มะเร็ง เป็นต้น) กลุ่มผู้เสียหายทางการแพทย์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มประชากรเป้าหมาย(เช่น เด็กเยาวชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ใช้แรงงาน แรงงานนอกระบบ คนจน เป็นต้น) และกลุ่ม/ชมรม/เครือข่าย/องค์กรอื่นๆที่มีการดำเนินงาน
ในลักษณะใกล้เคียง 2.กลุ่มขององค์กรที่ดำเนินงานด้านอาสาสมัคร จิตอาสา หรือรณรงค์เผยแพร่ เช่น
อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครอื่นๆ หน่วยกู้ภัย เครือข่ายงดเหล้า /บุหรี่ เครือข่ายลดอุบัติเหตุ สโมสรโรตารี่ สโมสรไลออนส์ และกลุ่ม/ ชมรม/เครือข่าย/องค์กรอื่นๆที่มีการดำเนินงานในลักษณะใกล้เคียง 3.กลุ่มขององค์กร
ที่ดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น การบริการทางการแพทย์ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก
หมอพื้นบ้าน สมุนไพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผดุงครรภ์โบราณ และกลุ่ม/ ชมรม/เครือข่าย/องค์กรอื่นๆที่มีการดำเนินงาน
ในลักษณะใกล้เคียง 4.กลุ่มขององค์กรชุมชนที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาในพื้นที่ชุมชน (หมู่บ้าน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต) เช่น กลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยน สวัสดิการชุมชน วิสาหกิจชุมชน เกษตรกรรม แผนแม่บทชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สภาองค์กรชุมชนตำบล
และกลุ่ม/ ชมรม/เครือข่าย/องค์กรอื่นๆที่มีการดำเนินงานในลักษณะใกล้เคียง 5.กลุ่มขององค์กรที่ดำเนินงาน
ด้านพัฒนาชุมชน สังคม นโยบายสาธารณะ พิทักษ์สิทธิมนุษยชน การศึกษา ศาสนาหรืออื่นๆ เช่น ประชาคมสุขภาพ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ประชาสังคม สื่อท้องถิ่น (เช่น หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน วารสารชุมชน เป็นต้น) สื่อมวลชน
และกลุ่ม/ ชมรม/เครือข่าย/องค์กรอื่นๆที่มีการดำเนินงานในลักษณะใกล้เคียง นพ.พิทยาฯ กล่าวต่อว่า เพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพจึงขอเชิญชวน
องค์กรเอกชนที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวข้างต้น สมัครเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) สามารถสมัครได้ที่
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ในระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 18 พฤษภาคม 2558 และสอบถามเพิ่มเติม
ได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ 88/39 ม.4 ถ.ติวานนท์14
ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.nationalhealth.or.th
หรือโทร 02–832–9024-25 หรือ E-mail nchom3@nationalhealth.or.th