อ่าน 3,109
"ไทย-อาเซียน" ผนึกกำลังกวดขันมาตรฐาน "แรงงานข้ามชาติ"
การผลิตเพื่อส่งออกยังคงเป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนอัตรา การเติบโตของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในภาวะที่หลายประเทศยังไม่พร้อมที่จะคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่า เพิ่ม การลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยเพิ่มกำไรให้สูงสุด
"แรง งาน" นับเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มกำลังการผลิต ทั้งยังเป็นปัจจัยการผลิตที่ผู้ประกอบการมีอำนาจต่อรองสูง ซึ่งในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะในประเทศกลุ่ม CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่มีแรงงานจำนวนมาก และรัฐบาลยังไม่มีนโยบายคุ้มครองแรงงานที่ดีพอ มีเพียงนโยบายระยะสั้นที่ต้องการเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยดึงดูดการลง ทุนจากต่างประเทศและเพิ่มการผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น
และสำหรับไทยที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ จึงมีความต้องการแรงงานเป็นอย่างมาก ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เพราะปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่คนไทยไม่สนใจทำ เช่น อุตสาหกรรมประมง เกษตรกรรม และการก่อสร้าง เป็นต้น
ทั้งนี้ แรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างมากกว่าการทำงานในประเทศตน ทำให้แรงงานเหล่านี้พร้อมอพยพเข้ามาทำงานแม้จะต้องลักลอบเข้าเมืองมาโดยผิด กฎหมายและถูกเอารัดเอาเปรียบก็ตาม ความต้องการแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น และการย้ายถิ่นฐานของแรงงานกลายเป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศรวมทั้งไทยต้อง เผชิญมานานนับทศวรรษ ส่งผลให้เกิดภาวะความเสี่ยงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน การจ้างงาน โดยไทยพยายามพัฒนาระบบบริหารแรงงานข้ามชาติมาอย่างต่อเนื่อง และตระหนักว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องรีบแก้ไข ซึ่งระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) โดย กำหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น การพัฒนาฐานข้อมูลแรงงาน จัดทำแผนพัฒนาทักษะแรงงานข้ามชาติ เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในและอนุภูมิภาค เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าติดตาม
ดร.บัณฑิต โชคสงวน ตัวแทนจากศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) เปิดเผยถึงการให้ความสำคัญกับแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ให้กลายเป็นถูกกฎหมายอย่างสมบูรณ์ โดยประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส จากการถูกปรับลดอันดับจาก Tier 2 Watch List ลงสู่อันดับ Tier 3 ในรายงาน TIP Report ของทางการสหรัฐเมื่อปีก่อน ไทยต้องจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมแรงงานข้ามชาติให้ผ่านตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมอบใบประกาศนียบัตรเพื่อรับรองว่าแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้ผ่านการอบรม ตามมาตรฐานและเป็นแรงงานถูกกฎหมาย เพราะปัญหาไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะไทยเท่านั้น อินโดนีเซียก็ยืนยันถึงความเดือดร้อนที่กำลังประสบอยู่เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาพบแรงงานประมงทั้งชาวไทย เมียนมาและกัมพูชาในเกาะเบนจินา และคาดว่าในอนาคตแรงงานผิดกฎหมายทั้งแรงงานประมงและอื่น ๆ จะเคลื่อนย้ายและกระจายอยู่ในประเทศในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกลไกช่วยเหลือเพื่อจัดการปัญหาในระดับภูมิภาค และควรมีข้อตกลงร่วมกันในอาเซียน โดยเฉพาะเรื่องประมงทะเล ซึ่งไทยควรเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานคุ้มครองแรงงานประมงในภูมิภาคอาเซียน ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเวลานี้ถือเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่สุดเพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ในสาย ตาประชาคมโลก
"การ จัดระเบียบปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายเป็นมิติสำคัญที่ชาติสมาชิกควรร่วม จัดการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการช่วยเหลือที่ครอบคลุมทั้งแรงงานไทยและแรงงานเพื่อนบ้าน ดังนั้น ต้องพูดคุยให้ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตในการดูแล เพราะในระยะยาวหมายถึงการเฝ้าติดตามและการลงโทษ รวมถึงเรื่องค่าชดเชยจากการละเมิดของนายจ้างด้วย" ดร.บัณทิตกล่าว
ประเด็น ด้านแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะหาข้อสรุปได้ยาก ยิ่งกว่านั้นทุกประเทศต่างมุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้ได้ในปลายปีนี้ แต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างจริงจังจนนำไป สู่การละเลย และแน่นอนว่าอาจทำให้อาเซียนกลายเป็นประชาคมที่มีรากฐานไม่แข็งแรงและนำไป สู่การล้มเหลวในที่สุด
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 มิถุนายน 2558
คำค้นหา