แรงงานฯ เตรียมเสนอยุทธศาสตร์พัฒนาด้านภาษาและวัฒนธรรมรองรับ AC
คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.)เตรียมเสนอยุทธศาสตร์พัฒนาด้านภาษาและวัฒนธรรมรองรับประชาคมอาเซียน (AC) เน้นเพิ่มสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ พัฒนาแรงงานในสถานประกอบการ พนักงานขับรถแท็กชี่ พนักงานขายของที่ระลึก นักเรียน/นักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ ให้ ครม.เห็นชอบภายใน ธ.ค.นี้
หม่อม หลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่ง ชาติ (กพร.ปช.) ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ ว่า ที่ประชุมได้ร่วม กันพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านภาษาและวัฒนธรรมเพื่อรองรับ ประชาคมอาเซียน (ASEAN Communty : AC) เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติในการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทย ใน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแรงงานในระบบซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการเน้นกลุ่มท่องเที่ยวและ บริการ กลุ่มแรงงานนอกระบบจะเป็นกลุ่มพนักงานขับรถแท็กซี่และขายของที่ระลึก และกลุ่มแรงงานใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังศึกษาอยู่และเพิ่งจบการศึกษาใหม่
ประกอบ ด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้และทดสอบสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการสร้างจิตสำนึกถึงคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ขยายความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาทักษะด้านภาษาและวัฒนธรรม และยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับปรุงสื่อการเรียนรู้และฐานข้อมูลกลางด้านภาษาและวัฒนธรรม กำหนดวิสัยทัศน์ "กำลังแรงงานไทยมีมาตรฐานสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรมรองรับประชาคมอาเซียน” ทั้งนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในเดือนธันวาคมนี้
กระทรวง แรงงานคาดหวังว่าจะเป็นการจุดประกายก่อนจะได้ดำเนินงานในขั้นต่อไป จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแผนงาน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดกรอบสมรรถนะแห่งอาเซียน ทั้งหมดจำนวน 32 ตำแหน่งงาน ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MoU) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ออกใบรับรองวิชาชีพท่องเที่ยว และกระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและ พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นสำหรับฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและยกระดับมาตรฐานฝีมือ แรงงานไทยที่ประกอบวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวให้ได้สมรรถนะตามมาตรฐานอาเซียน
โดย ในเบื้องต้นจะเน้นพัฒนาภาษาอังกฤษเป็นหลักและภาษาอื่นตามกลุ่มเป้าหมายต้อง การ และการออกแบบหลักสูตรจะคำนึงถึงความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการ ฝึก ตลอดจนช่วงระยะเวลาซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าอบรมซึ่งหากต้องทำ งานอยู่
โดย กระทรวงแรงงาน