หมอใหญ่กรุงเก่า : แนะประชาชน รู้ทัน พร้อมป้องกัน “โรคติดเชื้อไวรัสซิกา”เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หมอใหญ่กรุงเก่า : แนะประชาชน รู้ทัน พร้อมป้องกัน “โรคติดเชื้อไวรัสซิกา”

ผู้เขียน:  พัชรี วงษ์บัวทอง จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:48 น.

 อ่าน 1,933

 

นพ.พิทยา ไพบูลย์ศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข  
ออกประกาศโรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ  พ.ศ.2523
พื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเต็มที่ เน้นเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ทางกีฏวิทยา ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ออกผื่น ทารกที่มีความผิดปกติศีรษะเล็ก และผู้ที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ประกาศเป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา และสำหรับประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา มีทั้งหมด 23 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย โดมินิกัน นิการากัว เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาม เวเนซุเอลา เปอร์โตริโก บาร์เบโดส โบลิเวีย เอกวาดอร์ กัวเดอลุป กายอานา หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และเกาะเซนต์มาร์ติน             โรคไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา อยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus)
จำพวกเดียวกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มียุงลาย
เป็นแมลงนำโรค ซึ่งมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วัน สั้นสุด 3 วัน และยาวสุด 12 วัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่
มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต
และอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็ก
หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรค
ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่นๆ
ที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมากๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง
นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ อีกด้วย                               วิธีป้องกันโรคไข้ซิกาที่ดีที่สุดคือป้องกันไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในและนอกบ้าน
หากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคต้องระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อผ้า
ให้มิดชิด ทายาป้องกันยุง หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเดินทางไปประเทศดังกล่าวหรือควรปรึกษาแพทย์         นพ.พิทยาฯ กล่าวต่อว่า ขอความร่วมมือประชาชน ร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน รอบๆบ้านและในชุมชน ทั้งคนในครอบครัวและคนในชุมชนเอง ต้องช่วยกันค้นหา และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมกัน ส่วนผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดในแถบประเทศลาตินอเมริกา และแคริเบียน หากมีอาการข้างต้นขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศด้วย
หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์http://beid.ddc.moph.go.th


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทประชาสัมพันธ์
ข่าวโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด