กระทรวงคมนาคมจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะโครงการรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 5 จ.สระบุุรี
วันที่ 2 มีนาคม 2559 ที่ห้องประชุมโรงแรมเกี่ยวอัน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี กระทรวงคมนาคมจัดงานสัมมนาสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ครั้งที่ 5 ต่อการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดรางมาตรฐาน นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาและปาฐกถาพิเศษ มีนายชรัส บุญณสะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน ร่วมงานประมาณ 300 คน โดยมีหัวข้อการบรรยายในเรื่อง "กรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ท้องถิ่นได้ประโยชน์อะไร" โดย อ.พิษณุ เหรียญมหาสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และที่ปรึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิ วัฒน์ การเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้ในหัวข้อ "รัฐ เอกชน ประชาชน ร่วมกันคิด กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น กับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน"
นาย ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดแรกที่อยู่ในแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟขนาด ทางมาตรฐาน ที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการก่อสร้างรถไฟขนาดทาง มาตรฐานตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 โดยกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบคมนมคมขนส่งของประเทศโดยเฉพาะการพัฒนา ระบบราง ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีอัตราต่ำรองลงมาจากการขนส่งน้ำโดย การแก้ไขปัญหาความล่าช้าของรถไฟขนาดทาง 1 เมตร (Meter Gauge) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในระยะเร่งด่วนจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร โดยช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร และช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ สำหรรับช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ ช่วงนครปฐม – หัวหิว และช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะอนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ ภายในปี 2559
สำหรับ การดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) มีแนวเส้นทาง แบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ (บางซื่อ) – แก่งคอย ระยะทาง 118 กม. ช่วงที่ 2 แก่งคอย – มาบตาพุด ระยะทาง 239 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย – นครราชสีมา ระยะทางขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร จะมีความสะดวก สบาย ตรงเวลา และรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงระบบราง ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเดินทางถึงสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ และเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผลไม้ มันสำปะหลัง เป็นต้น ที่ไทยจะส่งไปยังจีน ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกาได้
นาย ธีระพงษ์ รอดประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องมูลค่าของโครงการฯ ที่ปัจจุบันมูลค่าโครงการฯ มีราคาเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ได้เคยศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2553 เนื่องจากราคาในอดีต เป็นการคาดคะเน ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดที่แท้จริง แต่ปัจจุบันทีมผู้เชียวชาญจากประเทศจีนได้ทำการสำรวจและออกแบบรายละเอียดการ ก่อสร้างตามแนวเส้นทาง โดยออกแบบให้ระยะทางสั้นที่สุด และมีผลการะทบกับประชาชนน้อยที่สุด จึงทำให้บางพื้นที่ต้องดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ โดยใช้เทคโนโลยีระดังสูง รวมทั้งราคาค่าวัสดุก่อสร้างเปลี่ยนไป จึงทำให้มูลค่าโครงการฯ สูงขึ้น นอกจากนั้น ประเทศไทยได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดและประเมินมูลค่าการก่อสร้าง ที่ประเทศจีนได้ศึกษา สำรวจและออกแบบ หลังจากนั้นประเทศไทยจะดำเนินการเจรจาต่อรองราคากับประเทศจีนอีกครั้ง เพื่อให้มูลค่าโครงการฯ มีความเหมาะสม
โดย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์