เปิดเทคโนโลยีอวกาศเพื่อเศรษฐกิจ...รองรับอุตสาหกรรมใหม่ไทยสู่อาเซียนเว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เปิดเทคโนโลยีอวกาศเพื่อเศรษฐกิจ...รองรับอุตสาหกรรมใหม่ไทยสู่อาเซียน

ผู้เขียน:  เจ้าหน้าที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 09:02 น.

 อ่าน 2,396

เปิดเทคโนโลยีอวกาศเพื่อเศรษฐกิจ...รองรับอุตสาหกรรมใหม่ไทย

สู่อาเซียน

     กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) จัดระดมสมอง "อวกาศกับโอกาสการพัฒนาประเทศ” เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมกำหนดแนวทางการบูรณาการของหน่วยงานในประเทศในการนำเทคโนโลยีด้านอวกาศ ไปสู่การพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในทุกมิติเพื่อการพัฒนาประเทศให้ ยั่งยืน

     พล อากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งได้อย่างน่าสนใจว่า "ปัจจุบันการดำเนินชีวิตในแต่ละวันและความสะดวกสบายหลาย ๆ อย่างของพวกเรานั้นเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศที่ใกล้ตัวพวก เราทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารโทรคมนาคมข้ามทวีป การถ่ายทอดมหกรรมกีฬาสำคัญของโลก การพยากรณ์สภาพอากาศทั่วทุกมุมโลกในแต่ละนาที ยิ่งในปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลและสื่อสารกันโดยใช้อุปกรณ์สมาร์ท (smart device) ที่ติดตั้งระบบรับสัญญาณดาวเทียมนำทางและกล้องถ่ายภาพที่พัฒนาจากเทคโนโลยี อวกาศ และในขณะนี้ประเทศไทยก็ได้ใช้ประโยชน์จากอวกาศในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจ การแสวงหาทรัพยากร การวิจัยและพัฒนาทางด้านการแพทย์ การติดต่อสื่อสารและการถ่ายทอดรายการบันเทิงผ่านดาวเทียม การใช้งานดาวเทียมสำรวจและดาวเทียมสื่อสารเพื่อภารกิจด้านความมั่นคงและการท หาร การใช้เทคโนโลยีในอวกาศเพื่อการป้องกันและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ การศึกษาชั้นบรรยากาศเพื่อรองรับการและเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่ อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง และมีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ ที่จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engine) ของประเทศใน 10 ด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมด้านการขนส่งและการบิน โดยเป้าหมายของอุตสาหกรรมดังกล่าว มุ่งเน้นการบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ธุรกิจมูลค่าสูงที่ต้องการความเร็วจากการขนส่งทางอากาศ และสถาบันศึกษาและอบรมด้านการบิน โดยอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานนั้นสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้องกับอวกาศได้ด้วย

    พล อากาศเอกประจิน กล่าวต่อว่า ขณะนี้เราพยายามนำเทคโนโลยีมาบูรณาการเป็นนวัตกรรม โดยที่ผ่านมาเราใช้คนใช้เครื่องมือติดตั้งอากาศยานในการดูแลเรื่องภัยพิบัติ แต่จากนี้เราจะนำขีดความสามารถของดาวเทียมมาใช้ให้มากขึ้นเพื่อทำให้เกิด ความรวดเร็วในการช่วยเหลือประชาชนในทุกๆ มิติ สำหรับโครงการ ทีออส 2 ขณะนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการในวงเงินจำนวนประมาณ 8 พันล้านบาท โดยมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

    ดร.พิเชฐ ได้กล่าวเสริมว่า "เทคโนโลยีด้านการบินและด้านอวกาศมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ โดยสามารถต่อยอดซึ่งกันและกันได้ง่าย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการบินและอวกาศของประเทศให้มีศักยภาพ แข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน โดยที่ผ่านมาได้มีการบูรณาการกระบวนงานหลายส่วนเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในด้านกรอบความคิดที่แสดงถึงการพัฒนา การทดสอบ การลงมือทำ และการดำเนินการในที่สุด เพื่อให้โครงการด้านอวกาศของประเทศประสบผลสำเร็จ การจัดสัมมนาในวันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นโอกาสที่ดีในการกำหนด ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้านอวกาศของประเทศบนฐานของเทคโนโลยี นวัตกรรม องค์ความรู้ กำลังคน ที่เชื่อมโยงกับนโยบายระดับประเทศที่สำคัญ เพื่อรองรับในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความมั่นคงทางสังคม ความยั่งยืนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาคอาเซียน” นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1.การใช้ประโยชน์ด้านโทรคมนาคม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทยในแง่ของการกระจายความเจริญไป พร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 2.การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในการสำรวจด้านต่างๆ อาทิ ภัยแล้ง การบริหารจัดการน้ำ ไฟป่า ป่าไม้ 3.การใช้ประโยชน์เพื่อระบบทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบการผลิตที่เกี่ยวข้อง และการใช้ประโยชน์ข้อมูลมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 4.การใช้ประโยชน์ทางสังคม ซึ่งกระทรวงต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางสังคมจะเข้ามามีส่วนร่วม 5.การเตรียมการเพื่อพัฒนาบุคลากรไว้ล่วงหน้าและการจัดให้มีหลักสูตรเกี่ยว กับเทคโนโลยีอวกาศมากยิ่งขึ้น

     ดร.พิเชฐ กล่าวต่อว่า สังคมไทยยังไม่คุ้นเคยกับคำว่าอวกาศเนื่องจากเป็นเรื่องที่ไกลตัว ดังนั้นเราจำเป็นต้องวางพื้นฐานโครงการอวกาศแห่งชาติ (National Space Program) เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจและเห็นด้วย การสร้างเป้าหมายการสร้างความหวังและโอกาสให้กับประเทศนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่หล่อหลอมและทำให้สังคมไทยกลับมาเข้มแข็งและมั่นคงอีก ครั้ง


คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทข่าวอาเซียนทั่วไป
ข่าวโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด