ตัวอย่าง การส่งเสริม SMEs ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรณี ผู้ร้องประกอบกิจการของ หจก.พี เอ็น พี แฟคเจอริ่ง ผลิตของใช้อุปโภคในครัวเรือนและเครื่องสำอาง ผู้ประกอบการมีความสามารถในการผลิต และมี อย. อยู่ 21 รายการ เนื่องจากขายสินค้าเครดิต 1-2 เดือน ทำให้ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนจึงกู้เงินนอกระบบและทำให้เกิดภาระหนี้สิน อีกทั้งยอดขายไม่ดี ทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ จึงมาขอความช่วยเหลือที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดฯ
ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดฯ ให้ความช่วยเหลือผู้ร้อง โดย
1. รับลงทะเบียนผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กับระบบรับลงทะเบียนฯ ผ่านเว็บไซต์ www.sme.go.th ของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
2. ให้คำแนะนำการสร้างเครือข่ายทางการค้า รวมถึงประสานธนาคาร SME เพื่อให้ความรู้เรื่องการตลาดและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
3. แนะนำให้ทำสัญญาในการผลิตสินค้ากับคู่สัญญา เนื่องจากจะถูกเอาเปรียบจากลูกค้าที่มาสั่งผลิตสินค้า เมื่อได้สูตรและเลขที่ อย.แล้วก็จะไม่มาสั่งผลิตอีกเนื่องจากนำไปทำเอง หรือสั่งเพิ่มจำนวนน้อย เพราะไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์/ข้อสัญญา ขาดความรู้ เจ้าหน้าที่จึงแนะนำข้อกฎหมาย/สัญญา เพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบ
4. แนะนำแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับข้อมูลการทำการตลาดในปัจจุบัน ฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถหาช่องการค้า เครือข่าย และฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้
5. แนะนำให้ผู้ร้องมีการเขียนแผนธุรกิจ เนื่องจากต้องใช้เป็นเครื่องมือในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาร สถาบันการเงิน หรือใช้เพื่อการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆต่อไป
6. เบื้องต้นศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดฯ ช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ โดยการวางสินค้าเพื่อเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมธุรกิจ ที่ตลาดนัดวันศุกร์ ณ ศาลากลางจังหวัดฯ ต่อไป