ศูนย์กลางอาหารของอาเซียน “อุปสรรค” ของไทยคืออะไร?เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ logo website จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศูนย์กลางอาหารของอาเซียน “อุปสรรค” ของไทยคืออะไร?

ผู้เขียน:  นพพร แสงสร้อย จาก ผู้ดูแลระบบ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 16:02 น.

 อ่าน 3,282

เหลือเวลาอีกไม่นานที่ ๑๐ ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ความร่วมมือทั้ง ๓ เสาหลัก ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (APSC) – ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) – ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)
ต้องปราศจากกำแพงตามที่ผู้นำได้ตกลงกันไว้

ศักยภาพของไทย สามารถเป็น “ศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน” ได้ โดยเฉพาะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ จากการเสวนาทียู-อาเซียน ฟอรั่ม (TU-ASEAN Forum) ครั้งที่ ๘ หัวข้อ “ไทยกับการเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ตอบคำถามความสำคัญของเออีซีต่อไทย มีดังนี้

๑. “การค้า”

๒. “การบริการ”

๓. “การลงทุน”

๔. “ด้านแรงงาน”

๕. การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐาน

ไทยจะเสียประโยชน์มากหากอยู่ตัวคนเดียว จึงต้องรวมกลุ่มเพื่อสร้างพลังการต่อรองด้วยยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน จุดแข็งที่เรามีคือการมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทั้งด้านการท่องเที่ยว สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ ยานยนต์ โดยเฉพาะด้านอาหาร ด้วยวิสัยทัศน์ “ผงาดเป็นศูนย์กลางอาเซียน”

ไทยมีความพร้อมของทรัพยากรและศักยภาพด้านอุตสาหกรรมอาหาร มีแววรุ่งอย่างมาก ไม่ใช่แค่ศูนย์กลางอาหารของอาเซียน แต่รวมถึงศูนย์กลางอาหารของเอเชีย และของโลก ไม่ใช่แค่การค้าขาย นำเข้า ส่งออก แต่ยังรวมถึงกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยเฉพาะการผลิตในภาคเกษตรอย่างการปลูก การเลี้ยง อาหารยังเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในแง่ที่อยู่อาศัย สุขภาพและอนามัย แต่บางอย่างต้องยอมรับว่าเรายังเข้าไม่ถึง เช่น พืชจีเอ็มโอ

และช่วง ๔๐ ปีที่ผ่านมาเกษตรกรไทยได้การปฏิวัติเขียวและไบโอเทคโนโลยี สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ และเหลือขายส่งออกต่างประเทศ ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างมาก ถือเป็นการส่งเสริมให้สังคมมนุษย์โลกมี “ความมั่นคงทางอาหาร”

นอกจาก “ทุนเดิม” ที่มี ต้องอาศัย “เทคโนโลยี” ไทยจะสามารถครองตำแหน่ง “ครัวของโลก” ได้อย่างสมศักดิ์ศรี การขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทุกประเทศต้อนรับนักธุรกิจไทยอย่างดีโดยไม่กีดกัน แต่ในช่วง ๓๐ ปี ที่ผ่านมาแทบไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐเลย เพราะไม่มีนโยบาย และขาดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริม บางรัฐบาลยังกีดกันการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศ ด้วยเห็นว่าเป็นการนำทรัพยากรของประเทศไปต่างประเทศ แต่ตอนนี้ภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนยังประสานกันไม่เต็มที่ ควรบูรณาการ ไทยมีความพร้อมด้าน “ทุน – เทคโนโลยี – ตลาด” แต่ขาด “จินตนาการ” เพราะเราเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ จึงไม่ตระหนักด้านนี้ ซึ่งประเทศที่ขาดแคลนจะมีความชัดเจนว่า “อาหารคือปัจจัยพื้นฐาน” หากไร้จินตนาการ เราจะใช้อาวุธนี้ในการหาโอกาสในต่างประเทศได้อย่างไร

 

 

*** ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ประชาชื่น วันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ หน้า ๑๗

ดาวน์โหลดไฟล์
คำค้นหา
 
comments powered by Disqus
ข่าวในประเภทข่าวอาเซียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข่าวโดยผู้ดูแลระบบ
ข่าวล่าสุด
สนใจมากสุดในรอบเดือน
เข้าชมล่าสุด